“ภาวะจอประสาทตาเสื่อม” (Age-Related Macular Degeneration: AMD) เป็นภาวะที่มีความผิดปกติเกิดขึ้นบริเวณจุดกลางรับภาพของจอประสาทตา ที่เรียกว่า Macula ซึ่งเป็นการเสื่อมท่ีเกิดข้ึนตามวัย โดยส่วนใหญ่มักมีอาการมองไม่ชัด หรือสูญเสียการมองเห็นเฉพาะตรงกลางภาพ โดยภาพด้านข้างจะยังเห็นได้ดีอยู่ พบมากในช่วงอายุต้ังแต่ 60 ปีขึ้นไป

โดย “ภาวะจอประสาทตาเสื่อม” เกิดจากจุดสีเหลือง หรือ “ดรูเซ่น” (Drusen) สะสมอยู่ใต้จอประสาทตา ซึ่งจุดสีเหลืองนี้ จะไปทําลายเซลล์รับแสง ทําให้เซลล์จอประสาทตาจะค่อย ๆ เสื่อมไปอย่างช้า ๆ ทําให้มองเห็นภาพบิดเบี้ยว

สารสี (Macular Pigment) เป็นส่วนหนึ่งของจุดภาพชัด (Macular) หากจุดภาพชัดถูกทำลาย จะส่งผลให้สารสีที่จอประสาทตาลดลงด้วย ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้ป่วยจอประสาทตาเสื่อมมองเห็นภาพบิดเบี้ยว

“ลูทีน” ช่วยเพิ่มสารสีที่จอประสาทตาได้

เนื่องจากสาเหตุหลัก ๆ ของภาวะจอประสาทตาเสื่อม มาจากการที่สารสีที่จอประสาทตาลดลง ทำให้คณะเคมี และคณะฟิสิกข์ มหาวิทยาลัยนานาชาติฟลอริด้า (Florida International University) ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ให้ความสนใจ และทำการทดลองเพิ่มความหนาแน่นของสารสีที่จอประสาทตา ด้วย “ลูทีน และซีแซนทีน” 

โดยให้อาสาสมัครได้รับสารสกัดลูทีน 30 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นระยะเวลา 140 วัน

ผลการทดลอง พบว่าผู้เข้าร่วมการทดลอง มีความหนาแน่นของสารสีที่จอประสาทตา เพิ่มขึ้นถึง 30%  และสามารถกรองแสงสีฟ้าที่เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคจอประสาทตาเสื่อมได้ถึง 30-40% ดังนั้นการทานลูทีน และซีแซนทีนอย่างสม่ำเสมอจะทำให้การมองเห็นชัดเจนยิ่งขึ้น

จอประสาทตาเสื่อมขั้นรุนแรง ทำตาบอดได้ใน 2 ปี !

“จอประสาทตาเสื่อมขั้นรุนแรง” หรือจอประสาทตาเสื่อมชนิดเปียก (Wet AMD) พบเพียงร้อยละ 10-15 ของผู้ป่วยจอประสาทตาเสื่อม ทําให้สูญเสียการมองเห็นอย่างเฉียบพลัน ซึ่งเกิดจากเส้นเลือดฝอยด้านหลังจอประสาทตาเกิดความผิดปกติ ทําให้มีของเหลวในหลอดเลือดไหลซึมไปโดนจุดรับภาพทําให้จุดภาพชัดบวม หรือมีเลือดออกท่ีจอประสาทตา

โดยผู้ป่วยจะเริ่มมองเห็นภาพตรงกลางบิดเบี้ยว หากไม่ได้รับการรักษา จะทำให้เซลล์ประสาทตาตาย ส่งผลให้การมองเห็นลดลง จนสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรได้ใน 2 ปี !

ทานลูทีน ร่วมกับ “กิงโกะ” ป้องกันตาบอดจากจอประสาทตาเสื่อมได้

กิงโกะ (Gingko) ให้สารสำคัญ เทอร์ปีน แลคโตน (terpene lactone) และฟลาโวนอยด์ ไกลโคไซด์ (flavonoid glycosides) ที่มีคุณสมบัติเพิ่มการไหลเวียนของเลือด โดยจะช่วยให้หลอดเลือดขยายตัว  และลดความหนืดของเลือด ซึ่งคุณสมบัติที่กล่าวมา ทำให้แผนกจักษุวิทยา โรงพยาบาล NHIC Ilsan ร่วมกับสถาบันวิจัยการมองเห็น มหาวิทยาลัยการแพทย์ Yonsei ประเทศเกาหลีใต้ ได้ให้ความสนใจ และศึกษาฤทธิ์ของกิงโกะในผู้ที่มีปัญหาดวงตา

โดยให้อาสาสมัครได้รับสารสกัดกิงโกะ 160 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นระยะเวลา 30 วัน

ผลการทดลองพบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับสารสกัดกิงโกะ มีอัตราการไหลเวียนเฉลี่ยของเลือดในจอประสาทตาเพิ่มขึ้นถึง 17%  และมีปริมาณเลือด ที่ไปเลี้ยงเส้นประสาทตาเพิ่มขึ้นจากเดิม 12%  เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่ได้รับยาหลอก ดังนั้นการทานสารสกัดกิงโกะอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยฟื้นฟูขั้วประสาทตา และจุดภาพชัดที่ได้รับความเสียหายจากจอประสาทตาเสื่อมได้