“ดวงตา” ถือเป็นอีกหนึ่งอวัยวะที่สำคัญต่อร่างกายเป็นอย่างมาก ทั้งช่วยในการมองเห็นและใช้ในการรับรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเรา ซึ่งทุกคนทราบกันดีอยู่แล้วว่า เมื่ออายุมากขึ้น สภาพร่างกายจะค่อย ๆ เสื่อมลงไป ดวงตาก็เช่นกัน ส่งผลให้เกิดความผิดปกติหรือโรคตาต่าง ๆ ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้.
แล้วทุกคนเคยสงสัยไหมว่า? ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับดวงตา พวกเขามองเห็นภาพเป็นแบบไหนกันบ้าง วันนี้ ทางเราจึงได้รวบรวมภาพการมองเห็นของผู้มีปัญหาดวงตาชนิดต่าง ๆ มาทั้งหมด 8 แบบ ดังนี้

สายตาปกติ
1. สายตาสั้น (Myopia)
ผู้ที่มีปัญหา “สายตาสั้น” กระจกตาจะมีความโค้งมากเกินไป ส่งผลให้แสงที่ตกกระทบวัตถุ โฟกัสที่ด้านหน้าของจอตา ไม่ได้โฟกัสที่จอตา จึงมองเห็นวัตถุที่อยู่ใกล้ได้ชัดเจน แต่มองเห็นวัตถุที่อยู่ไกลไม่ชัดเจน
สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิด “สายตาสั้น” มักเกิดจาก
- พันธุกรรม
- การใช้สายตาเพ่งมองสิ่งต่าง ๆ เป็นเวลานาน เช่น อ่านหนังสือ เล่นคอมพิวเตอร์
ซึ่งเราสามารถทำให้การมองเห็นชัดขึ้นได้ โดยการสวมแว่นตา ใส่คอนแทคเลนส์ หรือทำเลสิค เป็นต้น
ในบางกรณี บางรายอาจเห็นภาพมัวทั้งหมด ต้องเพ่งมองใกล้ ๆ จริง ๆ ถึงจะเห็นภาพ
2. สายตายาว (Hyperopia)
ภาวะ “สายตายาว” เกิดจากกระจกตามีกำลังในการหักเหแสงน้อยเกินไป โดยผู้ที่มีสายตายาวจะมีลูกตาเล็กหรือกระจกตาแบนเกินไป ทำให้มองเห็นวัตถุระยะใกล้ไม่ชัดเจน แต่มองเห็นวัตถุในระยะไกลได้ชัดเจน ในบางกรณีอาจเห็นภาพไม่ชัดทั้งระยะใกล้และระยะไกล
ซึ่งสามารถพบได้ตั้งแต่กำเนิด และมักเกิดขึ้นในคนที่มีอายุประมาณ 40 ปีขึ้นไป หรือที่เรียกว่า “สายตายาวตามอายุ”
3. ต้อหิน (Glaucoma)
“ต้อหิน” ส่วนใหญ่เกิดจากความดันในลูกตาสูง ทำให้กดทับเส้นประสาทตาจนเสียหาย โดยทั่วไปมักไม่แสดงอาการในช่วงแรก แต่เมื่ออาการหนักขึ้น จะเริ่มมองไม่เห็นด้านข้างและค่อย ๆ แคบลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งมองไม่เห็นทั้งหมด หรือตาบอดถาวรนั่นเอง
รู้หรือไม่ ! “ต้อหิน” เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนทั่วโลกตาบอดเป็นอันดับ 2 รองจากต้อกระจก
4. ต้อกระจก (Cataract)
เกิดจากการเสื่อมสภาพของเลนส์แก้วตา ทำให้เลนส์แก้วตาซึ่งควรมีลักษณะใสมีความขุ่นขาวมากขึ้น ส่งผลให้มีอาการตาพร่ามัว เห็นภาพเบลอ และมองเห็นสีเพี้ยน
นอกจากนี้ หากละเลยปล่อยไว้จนต้อกระจกสุกเกินไป จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ต้อหิน ตามมาได้ และปัจจุบันยังไม่มียาหรืออาหารเสริมตัวไหนที่สามารถรักษาต้อกระจกให้หายขาดได้ ทำได้เพียงรักษาตามอาการเท่านั้น
ซึ่งมีงานวิจัยพบว่า การทานลูทีนและซีแซนทีนเป็นประจำ จะช่วยป้องกันการเกิดต้อกระจกได้ถึง 60% นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการมองเห็นอีกด้วย
5. วุ้นในตาเสื่อม (Eye Floaters)
ภาวะ “วุ้นในตาเสื่อม” เกิดจากวุ้นในตาเสื่อมสภาพ หดตัว หลุดลอก กลายเป็นตะกอนขุ่นลอยอยู่ในดวงตา และเมื่อมีแสงผ่านวุ้นตา แสงจะเกิดการหักเห ทำให้เห็นจุดดำ และเส้นคล้ายหยากไย่ลอยไปมา
ปัจจุบัน “วุ้นในตาเสื่อม” ยังไม่มียารักษาให้หายขาดได้ จึงควรหมั่นดูแลดวงตา เพื่อป้องกันการเกิดจอประสาทตาลอกและจอประสาทตาเสื่อมซ้ำซ้อน
สำหรับการฟื้นบำรุงดวงตาเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดวุ้นในตาเสื่อม สามารถทำได้ด้วยวิธีง่าย ๆ เช่น พักสายตา งดอ่านหนังสือ งดเล่นโทรศัพท์มือถือในที่มืด หรือเลือกทานอาหารเสริมที่มีลูทีนและซีแซนทีน ซึ่งนอกจากจะช่วยชะลอการเสื่อมของดวงตาแล้ว ยังช่วยเพิ่มโอกาสให้วุ้นในตาตกตะกอนได้ไวขึ้นอีกด้วย
6. จอประสาทตาลอก (Retinal Detachment)
จอประสาทตาลอก เป็นภาวะที่เกิดจากการรั้งของจอประสาทตา ทำให้จอตาเกิดการร่น หดตัว หลุดลอก หรือฉีกขาด ส่งผลให้ผู้ป่วยเห็นแสงวาบคล้ายฟ้าแลบ หรือเห็นเงาดำเหมือนมีม่านมาบังตา
หากมีอาการ “จอประสาทตาลอก” จำเป็นต้องพบจักษุแพทย์ทันที เพราะหากเกิดการรั้งจนจอตาฉีกขาด มีโอกาสตาบอดได้
ปัจจัยหลัก ๆ ที่ทำให้เกิด “จอประสาทตาลอก”คือ เป็นวุ้นในตาเสื่อมมานาน ซึ่งพบได้มากถึง 10-20%
7. จอประสาทตาเสื่อม (Age-Related Macular Degeneration; AMD)
ภาวะ “จอประสาทตาเสื่อม” เกิดจากเซลล์รับแสงในจุดรับภาพซึ่งอยู่ตรงกลางจอประสาทตา (Macula) เสื่อมสภาพ ทำให้ผู้ป่วยมองเห็นจุดดำ ภาพบิดเบี้ยว สีภาพเพี้ยน และเห็นภาพไม่ชัดเจน
จอประสาทตาเสื่อม ถือเป็นการเสื่อมของดวงตาที่เกิดขึ้นตามวัย พบมากในช่วงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และเป็นอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้สูญเสียการมองเห็นได้ แต่เราสามารถฟื้นบำรุงด้วยการทานลูทีนและซีแซนทีน เพื่อช่วยเพิ่มจำนวนเซลล์สารสีที่จอตา ควบคู่กับการรักษาทางการแพทย์ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น
8. เบาหวานขึ้นตา (Diabetic Retinopathy)
เป็นภาวะที่เกิดจากเส้นเลือดฝอยที่จอตาโป่งขึ้นจากน้ำตาลอุดตัน ทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนได้ตามปกติ ส่งผลให้เกิดอาการตาพร่ามัว มองเห็นภาพเบลอ และเห็นจุดดำคล้ายหยากไย่ลอยไปมา
ผู้ป่วยที่มีอาการเบาหวานขึ้นจอตา ในระยะแรกมักไม่พบอาการผิดปกติใด ๆ แต่หากปล่อยไว้และไม่ได้รับการรักษา จะทำให้เป็นเบาหวานขึ้นตาขั้นรุนแรง จนทำให้ตาบอดถาวรได้
สำหรับการรักษาเบาหวานขึ้นตา ทำได้เพียงชะลอหรือยับยั้งอาการต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นเท่านั้น เช่น ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด การยิงเลเซอร์ หรือการทานอาหารที่มีลูทีน และซีแซนทีน ซึ่งจะช่วยชะลอความเสียหายของจอประสาทตา เพิ่มประสิทธิภาพในการมองเห็น และช่วยป้องกันตาบอดได้