ด้วยวิถีการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน นอกจากต้องระวังเรื่องสุขภาพทางกายแล้ว สุขภาพทางใจก็เป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะการใช้ชีวิตตามวิถีคนเมืองที่มักเร่งรีบ เคร่งเครียดอยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้บางคนต้องเผชิญกับอาการเครียดสะสม แพนิค วิตกกังวล โดยที่คุณอาจไม่ทันได้ตั้งตัว!

รูปคนทำหน้าเครียด-กุมขมับ

 รู้หรือไม่! “โรคแพนิค” เป็นอาการยอดฮิตที่พบได้บ่อยในคนวัยหนุ่มสาวและวัยทำงาน ราว ๆ ช่วงอายุ 20-30 ปี และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี

วันนี้ Herbitia จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ “โรคแพนิค” ให้ลึกมากยิ่งขึ้น เพื่อจะได้หาวิธีรับมือตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้อาการบานปลายจนกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่รบกวนจิตใจในอนาคต ไปดูกันเลยค่ะ 

ทำความรู้จัก “โรคแพนิค”

โรคแพนิค (Panic Disorder) ถือเป็นโรควิตกกังวลอีกประเภทหนึ่ง ที่เกิดจากฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลงกะทันหัน ส่งผลให้สารสื่อประสาทในสมองและระบบประสาทอัตโนมัติทำงานผิดปกติไป ทำให้สมองหลั่งสารตื่นตระหนกออกมา ผู้ป่วยจะรู้สึกกลัวและตื่นตระหนกเป็นอย่างมาก รวมทั้งมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วย อาทิเช่น

  • หัวใจเต้นแรง ใจสั่น ตัวสั่น
  • วิงเวียน เหมือนจะเป็นลม
  • หายใจถี่ แน่นหน้าอก
  • ท้องไส้ปั่นป่วน
  • ตัวชา ควบคุมตัวเองไม่ได้

โรคแพนิค คือ

อาการแพนิค จะมีความรุนแรงมากกว่าความเครียดทั่วไป และสามารถพัฒนากลายเป็นโรคซึมเศร้าได้!!

4 สาเหตุ เร่งให้คุณเป็น “แพนิค”

สำหรับสาเหตุที่กระตุ้นให้เกิดอาการแพนิค พบว่ามีอยู่หลายปัจจัยด้วยกัน ดังนี้

      1. กรรมพันธุ์

จากสถิติพบว่า หากพ่อแม่หรือคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคแพนิค ตัวคุณเองก็มีแนวโน้มที่จะเกิดอาการแพนิคได้ง่ายมากกว่าคนทั่วไปถึง 2 เท่า!!

กรรมพันธุ์

      2. พฤติกรรมการใช้ชีวิตในปัจจุบัน

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าพฤติกรรมการใช้ชีวิตในปัจจุบันนี้ ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้เกิดอาการแพนิคได้ เช่น

  • การทำงานอย่างเคร่งเครียด จนไม่มีเวลาได้ผ่อนคลาย
  • เผชิญกับความกดดัน เร่งรีบอยู่ตลอดเวลา
  • นอนน้อย พักผ่อนไม่เพียงพอ
  • ไม่มีเวลาออกกำลังกาย

พฤติกรรมเหล่านี้ นานวันเข้า จะยิ่งทำให้เกิดความเครียดสะสมตามมา จนทำให้มีอาการ “แพนิค” เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว

      3. เคยผ่านเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ

จากการศึกษาพบว่า ผู้ที่เคยผ่านเหตุการณ์เลวร้ายในชีวิตมาก่อนโดยเฉพาะในวัยเด็ก ย่อมมีแนวโน้มที่จะมีโอกาสเป็นโรคแพนิคได้มากกว่าคนทั่วไป เช่น

  • การสูญเสียพ่อแม่หรือคนรักตั้งแต่ยังเด็ก
  • การถูกทอดทิ้งในวัยเด็ก
  • เคยถูกล่วงละเมิดทางเพศ
  • เคยถูกทำร้ายร่างกาย

เหตุการณ์ต่าง ๆ เหล่านั้น อาจทำให้สารเคมีในสมองเสียสมดุล ทำให้มีโอกาสเกิดอาการแพนิคได้มากกว่าคนทั่วไป

      4. การใช้สารเสพติดและยาบางชนิด

การใช้สารเสพติด จะทำให้สมองทำงานผิดปกติไป และมีผลทำให้สารเคมีในสมองเสียสมดุล รวมทั้งการใช้ยาบางชนิดที่มีฤทธิ์กระตุ้นให้เกิดอาการใจสั่น ก็ล้วนเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการแพนิคได้เช่นกัน

6 วิธี บอกลา “อาการแพนิค” อย่างได้ผล!

“โรคแพนิค” หากปล่อยไว้ไม่ดีแน่! เพราะฉะนั้นสิ่งที่คุณควรทำ คือ หันมาใส่ใจดูแลสุขภาพจิตใจตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อให้จิตใจแจ่มใส ห่างไกลจาก “โรคแพนิค” ด้วยวิธีง่าย ๆ ที่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง ดังนี้

  1. นั่งสมาธิ ฝึกการหายใจ เพื่อควบคุมสติ เป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยผ่อนคลายความเครียด ลดอาการแพนิคลงได้
  2. ทำกิจกรรมที่ช่วยให้ผ่อนคลาย เช่น ดูหนัง ฟังเพลง ปลูกต้นไม้ ทำอาหาร
  3. พักผ่อนให้เพียงพอ เพราะหากอดหลับอดนอน จะทำให้อาการกำเริบได้
  4. หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ขณะออกกำลังกาย ร่างกายจะหลั่งสารแห่งความสุข ที่ชื่อว่า “Endorphin” ซึ่งจะทำให้เราอารมณ์ดี ช่วยลดอาการเครียด แพนิคได้เป็นอย่างดี
  5. งดการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น กาแฟ ชา เครื่องดื่มชูกำลัง เพราะคาเฟอีนมีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาท อาจทำให้อาการกำเริบได้
  6. พยายามมองโลกในแง่ดีให้เป็นนิสัย

นอกจากนี้ ควรเสริมด้วยการทานวิตามินหรือสมุนไพรที่ช่วยปรับสมดุลสมอง ผ่อนคลายความเครียด ลดอาการแพนิค วิตกกังวล เช่น กิงโกะ กาบา คาโมมายล์ เป็นต้น

ทั้งนี้ทั้งนั้น หากใครที่มีอาการรุนแรง ควรรีบพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดและรับการรักษาอย่างทันท่วงที เพื่อความปลอดภัยและสุขภาพจิตที่ดีในอนาคตนะคะ