“ซิงค์” (Zinc) หรือสังกะสี เป็นแร่ธาตุสำคัญที่จำเป็นต่อร่างกาย ซึ่งนอกจากจะขึ้นชื่อเรื่องการบำรุงเส้นผม หนังศีรษะ และเล็บแล้ว ยังแฝงไปด้วยคุณประโยชน์ในการบำรุงสุขภาพอีกมากมาย วันนี้ Herbitia ได้รวบรวม 6 คุณประโยชน์ของ “ซิงค์” สารอาหารสำคัญที่ร่างกายขาดไม่ได้! มาฝากทุกคนกันค่ะ

อาหารที่อุดมไปด้วยซิงค์ (Zinc)

อาหารที่อุดมไปด้วยซิงค์ (Zinc)

อาหารที่อุดมไปด้วย “ซิงค์” มักพบในอาหารกลุ่มโปรตีนสูง เช่น อาหารทะเล เนื้อสัตว์ ตับ ไข่ นอกจากนี้ยังพบได้ในผักใบเขียว และธัญพืชต่าง ๆ

รวม 6 ประโยชน์ของ “ ซิงค์ ” สารอาหารที่ร่างกายขาดไม่ได้!

1. เสริมความแข็งแรงให้กับเส้นผม ลดผมขาดหลุดร่วง

“ซิงค์” หรือสังกะสี มีส่วนช่วยกระตุ้นการสร้างเคราติน ซึ่งเป็นโปรตีนที่อยู่ในเส้นผม ทำให้เส้นผมของเรานั้นแข็งแรง ดูสวยสุขภาพดี เงางาม ช่วยลดผมร่วง แก้ปัญหาผมบาง และกระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นผม

ซิงค์ ลดผมร่วง แก้ปัญหาผมบาง

นอกจากนี้ ซิงค์” ยังช่วยลดความมันบนหนังศีรษะ ป้องกันรังแค ลดอาการคันระคายเคืองจากเชื้อราได้อีกด้วย

2. ป้องกันเล็บเปราะบาง ฉีกขาดง่าย

หากคุณสังเกตว่าเล็บเปราะบาง ฉีดขาดง่าย อาจเป็นสัญญาณเตือนที่บ่งบอกว่าร่างกายกำลังขาด “ซิงค์” เพราะซิงค์เป็นแร่ธาตุสำคัญที่ช่วยกระตุ้นการผลิตโปรตีนในเล็บ ทำให้เล็บ รวมถึงผิวหนังรอบ ๆ โคนเล็บแข็งแรง และช่วยป้องกันการเกิดเชื้อราที่เล็บได้

ซิงค์ ป้องกันเล็บเปราะ หักง่าย

3. บูสต์ภูมิคุ้มกัน ฟื้นฟูร่างกายจากอาการป่วย

ปัจจุบันผู้คนมักเจ็บป่วยอย่างง่ายดาย หรือมีอาการป่วยแย่ลงจากเชื้อไวรัสต่าง ๆ เช่น ไข้หวัดใหญ่ โควิด-19 จึงควรเติม “ซิงค์” ให้กับร่างกาย เนื่องจาก “ซิงค์” เป็นหนึ่งในสารอาหารที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของภูมิคุ้มกันให้พร้อมต่อสู้กับเชื้อโรค สิ่งแปลกปลอม และไวรัสที่เข้าสู่ร่างกาย

ซิงค์ สารอาหารช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง

จากข้อมูลผลวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร JRSM Open ปี 2017 กล่าวไว้ว่า ผู้ป่วยที่รับประทานซิงค์ 80-92 มิลลิกรัม/วัน มีอาการป่วยทุเลาลง และฟื้นตัวได้เร็วกว่าผู้ที่ไม่ได้รับประทานซิงค์ถึง 3 เท่า!!

4. ป้องกันโรคเรื้อรัง (NCDs)

โรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ ภาวะความดันโลหิตสูง ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง สาเหตุส่วนหนึ่งอาจเกิดจากการที่ร่างกายมีอนุมูลอิสระที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Oxidation reaction) ดังนั้นการรับประทาน “ซิงค์” ให้เพียงพอต่อวัน จะช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงการเกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ ได้

ซิงค์ ช่วยป้องกันโรคเรื้อรัง (NCDs) เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน

5. ชะลอการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม (AMD)

“ซิงค์” มีส่วนช่วยป้องกันความเสียหายของเซลล์ที่จอประสาทตา และช่วยชะลอการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม (AMD) ตามรายงานของสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (NIH) ประเทศสหรัฐอเมริกา 

ซิงค์ ช่วยชะลอการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม (Age-Related Macular Degeneration: AMD)

จากข้อมูลในงานวิจัยฉบับหนึ่ง ที่ได้ทำการทดลองกับอาสาสมัครกว่า 4,200 คน โดยให้ทานอาหารเสริมต้านอนุมูลอิสระ คือ วิตามินอี วิตามินซี เบต้าแคโรทีน ร่วมกับซิงค์ 80 มก. เป็นประจำทุกวันจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมได้

6. สมานแผล

คนที่มีบาดแผล หรือเป็นแผลเรื้อรัง มักมีปริมาณซิงค์ในร่างกายต่ำ ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจึงแนะนำให้ทาน “ซิงค์” เพื่อรักษาบาดแผล โดยซิงค์มีบทบาทสำคัญในการรักษาบาดแผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การซ่อมแซมผิวหนังไปจนถึงป้องกันการติดเชื้อ

ซิงค์ ช่วยสมานแผล

เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากซิงค์ ควรรับประทานในปริมาณที่แนะนำ ดังนี้

  • สำหรับผู้ใหญ่ : แนะนำให้รับประทานวันละ 12-15 มก.
  • สำหรับสตรีให้นมบุตร : แนะนำให้รับประทานวันละ 11-13 มก.

ทั้งนี้ ไม่ควรรับประทาน “ซิงค์” มากกว่า 40 มก./วัน เพราะหากรับประทานในปริมาณมากเกินไป อาจส่งผลข้างเคียงบางอย่างต่อร่างกายได้ เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง เป็นต้น