มีงานวิจัยค้นพบว่า ลูทีน (Lutein) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็น แต่หากในร่างกายมีปริมาณลดน้อยลง อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม ที่ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดได้
ภาควิชาเคมีมหาวิทยาลัยนานาชาติฟลอริด้า ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำการวิจัยผลต่อความหนาแน่นสารสีที่จอประสาทตา (macular pigment optical density) ของอาสาสมัครที่ได้รับสารสกัดลูทีน
โดยงานวิจัยมีวิธีการทดลอง ดังนี้
1. คัดเลือกอาสาสมัคร
อาสาสมัครเป็นเพศชายที่มีสุขภาพดี จำนวนหนึ่ง อายุเฉลี่ย 42 ปี
2. ทดสอบด้วยสารสกัด
ให้อาสาสมัครได้รับสารสกัดลูทีน 30 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลา 140 วัน
3. วัดผลการทดลอง
วัดผลด้วย Heterochromatic Flicker Photometry (HFP) ซึ่งเป็นที่นิยมและเชื่อถือได้สำหรับการถ่ายภาพวัดปริมาณความหนาแน่นสารลูทีนในจอประสาทตา โดยวัดทั้งก่อนและหลังการรับสารสกัด
4. ผลการทดลอง
กลุ่มที่ได้รับ สารสกัดลูทีน มีความหนาแน่นของสารสีที่จอประสาทตา “เพิ่มขึ้น” เฉลี่ย 30 เปอร์เซ็นต์
5. สรุปผลจากงานวิจัยนี้
“ลูทีน” เมื่อถูกทำลายลง จะไม่สามารถสร้างใหม่ได้เอง จำเป็นต้องรับจากการทานเข้าไป ดังนั้น การได้รับลูทีนเป็นประจำ มีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็น อีกทั้งสามารถกรองแสงสีฟ้าที่มีส่วนในการทำลายจอประสาทตาได้ถึง 30-40 เปอร์เซ็นต์