เมื่ออยู่ในช่วงวัยที่ถูกเรียกว่า “ผู้สูงอายุ” อวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่ผ่านการใช้งานมากกว่าครึ่งชีวิตก็จะเริ่มเสื่อมถอยลงไปเรื่อย ๆ การเดินเหินก็เริ่มลำบาก อะไรที่เคยทำได้สบาย ๆ ก็กลับกลายเป็นเรื่องยาก หนึ่งในปัญหาที่พบได้ในผู้สูงอายุทุกคนคือ “ปัญหาสายตา” ซึ่งที่จริงแล้วปัญหาเรื่องสายตานั้นจะมาก่อนช่วงวัยสูงอายุเสียอีก บทความนี้เราจะพาคุณมารู้จักกับโรคเกี่ยวกับสายตาที่จะพบได้เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ พร้อมแนะนำวิธีดูแลและป้องกัน เพื่อให้ห่างไกลจากโรคเหล่านั้นให้ได้มากที่สุด
ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงต่อ “ปัญหาสายตา” อะไรบ้าง ?
หากนับตามความหมายที่ถูกระบุเอาไว้ การเป็นผู้สูงอายุนั้นจะเริ่มต้นตั้งแต่อายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป แต่ถ้านับเฉพาะดวงตาแล้วช่วงสูงอายุจะเร็วกว่านั้น เนื่องจากปัญหาเกี่ยวกับสายตามักเริ่มพบตั้งแต่ช่วงอายุ 40 ขึ้นไป หากไม่นับความผิดปกติที่เกิดจากโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ โรคเกี่ยวกับดวงตาที่พบได้บ่อยมากที่สุดจะมีดังต่อไปนี้
-
โรคต้อชนิดต่าง ๆ
“โรคต้อ” หรือภาษาชาวบ้านเรียกว่า “ตาฟาง” เป็นอาการที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ อาการที่เกิดขึ้นก็คือจะมีอาการขุ่นมัวบนเลนส์ตา ซึ่งทำให้ภาพที่เห็นนั้นไม่ชัดเจน เหมือนอยู่ภายในหมอกควัน ซึ่งโรคต้อแบ่งออกเป็นหลายชนิด แต่ละชนิดก็จะมีความร้ายแรงแตกต่างกันออกไป ยกตัวอย่างเช่น โรคต้อกระจก , โรคต้อลม และ โรคต้อหิน
-
จอประสาทตาเสื่อม
“โรคจอประสาทตาเสื่อม” เป็นเหมือนกับการเช็คอินว่าในตอนนี้คุณกำลังเป็นผู้สูงอายุ ซึ่งมักพบในผู้ที่มีอายุ 60 ปีเป็นต้นไป โดยโรคนี้มีอาการที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละคน บ้างก็ทำให้สายตาพร่ามัว มองไม่ชัดทั้งระยะใกล้และไกล ในกรณีที่เลวร้ายที่สุดคือการสูญเสียการมองเห็นเลยทีเดียว
-
ค่าสายตาที่ผิดปกติไปจากเดิม
เป็นธรรมดาที่เมื่อเริ่มเปลี่ยนเป็น ผู้สูงอายุ แล้วค่าสายตานั้นจะคลาดเคลื่อนไปจากเดิม สาเหตุเกิดจากวุ้นในตานั้นเสื่อมสภาพ ทำให้สูญเสียความยืดหยุ่นไป ส่งผลให้จุดตกกระทบบนดวงตานั้นคลาดเคลื่อนไปจากเดิม ซึ่งเป็นต้นเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุส่วนมากเกิดอาการสายตาสั้น สายตาเอียง และ สายตายาว นั่นเอง
เคล็ดลับดูแลสุขภาพดวงตา สำหรับผู้สูงอายุ
เรื่องของอายุขัยนั้นเป็นสัจธรรมของชีวิตที่หลีกเลี่ยงไปไม่ได้ เมื่ออายุผ่านไปเรื่อย ๆ เราเองก็จะเริ่มสูญเสียบางอย่างไป หากในตอนนี้คุณเข้าใกล้กับการเป็นผู้สูงอายุ หรือเป็นผู้ที่ต้องดูแลผู้สูงอายุ ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ใช่ว่าจะไม่มีวิธีแก้ไขเลยเสียทีเดียว ยังมีวิธีดูแลผู้สูงอายุอีกหลายวิธี ที่ช่วยทำให้ห่างไกลจาก “ปัญหาสายตา” ยกตัวอย่างเช่น
- ตรวจสุขภาพเป็นประจำ การตรวจสุขภาพเป็นประจำเป็นเรื่องสำคัญของผู้สูงอายุ ในกระบวนการจะมีการตรวจสอบค่าสายตา และโรคเกี่ยวกับดวงตาเบื้องต้น ซึ่งทำให้รู้เมื่อมีวี่แววที่จะเกิดโรคร้าย
- รักษาสุขภาพให้ห่างไกลจากโรคเรื้อรังต่าง ๆ นอกจากการเสื่อมสภาพตามอายุขัยแล้ว โรคร้ายแรงต่าง ๆ อย่าง เบาหวาน ความดัน และ โรคหัวใจ ยังเป็นสาเหตุของอาการผิดปกติของดวงตาอีกหลายอย่าง
- สวมแว่นตา เมื่อจำเป็นต้องอยู่ท่ามกลางแสงแดด หรือในสถานที่ที่มีแสงจ้า ให้สวมใส่แว่นกันแดดเพื่อปกป้องดวงตาจากแสง UV รวมถึงการสวมแว่นตาเพื่อกันลม หรือแก้ไข ปัญหาสายตา ทั่วไปอย่างสายตาสั้น สายตายาว
- เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ เลือกกินอาหารที่มีสารอาหารอย่าง วิตามิน A , วิตามิน C , วิตามิน E , ซิงค์และ “ลูทีน” ซึ่งมีส่วนช่วยบำรุงสายตา
- ลด ละ เลิก บุหรี่ การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุหลักของโรคร้ายเกี่ยวกับดวงตา ไม่ว่าจะเป็น ต้อกระจก หรือ จอประสาทตาเสื่อม การลด ละ เลิก เท่ากับตัดปัจจัยความเสี่ยงโรคเหล่านั้นทิ้งไป
- ทานอาหารเสริมบำรุงสายตา ในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์สำหรับบำรุงสายตาให้เลือกทานมากมาย โดยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อดวงตาที่สุดคือ “ลูทีน” ยิ่งเป็น “ลูทีนเอสเทอร์” จะยิ่งดี เพราะร่างกายสามารถดูดซึมได้ไว และมีความเสถียรมากขึ้น ส่งผลให้สามารถเข้าไปบำรุงได้ตรงจุดมากยิ่งขึ้น
บทส่งท้าย “ปัญหาสายตา” ในผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุกับปัญหาเกี่ยวกับสายตาเปรียบเสมือนของคู่กัน เคล็ดลับการดูแลสุขภาพดวงตาที่เราแนะนำในบทความนี้ เป็นวิธีดูแลรักษาสุขภาพดวงตาที่สามารถใช้ได้กับทุกช่วงวัย หากเริ่มต้นดูแลตั้งแต่วันนี้ เมื่อเข้าใกล้ช่วงที่เป็นผู้สูงอายุขึ้นมาจริง ๆ ความเสี่ยงโรคร้ายแรงต่าง ๆ ก็จะลดน้อยลง
ดู
——————————————————–
อ่านบทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
>>>>บทความ – Herbitia
อ้างอิง
6 เคล็ดลับดูแลสุขภาพดวงตาผู้สูงอายุ (rutnin.com)
โรคตาในผู้สูงอายุ อุปสรรคในการใช้ชีวิตที่อาจนำมาซึ่งการสูญเสียการมองเห็น (allwellhealthcare.com)