มีงานวิจัยค้นพบว่า ลูทีน (lutein) และซีแซนทิน (zeaxanthin) ที่สะสมบริเวณสมองสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน การเรียนรู้ และกระบวนการคิดของสมองได้อย่างมีนัยสำคัญ
คุณ Rebecca Power และคณะจากศูนย์วิจัยโภชนาการ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ประเทศไอร์แลนด์ ได้ทำการวิจัยผลต่อความสามารถด้านความจำระหว่างอาสาสมัครที่ได้รับสารสกัดลูทีน และซีแซนทิน เปรียบเทียบกับ ยาหลอก (Placebo)
โดยงานวิจัยมีวิธีการทดลอง ดังนี้
1. แบ่งกลุ่มผู้ป่วย
จากอาสาสมัครที่ขาดหรือมีความบกพร่องของลูทีน และซีแซนทินในร่างกาย จำนวน 91 คน และอายุเฉลี่ย 45 ปี มาแบ่งกลุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 : กลุ่มที่ได้รับอาหารเสริม ลูทีน 10 มก. และ ซีแซนทิน 2 มก. ต่อวัน
กลุ่มที่ 2 : กลุ่มที่ได้รับ ยาหลอก
ระยะเวลาในการทดลองทั้งหมด 12 เดือน
2. วัดผลการทดลอง
วิธีการทดลอง
- ทดลองด้วยวิธี verbal recognition memory (VRM) หรือการวัดความจำ
– การทดสอบความจำระยะสั้น (ในทันที) แบบที่ 1
– การทดสอบความจำระยะสั้น (ในทันที) แบบที่ 2
– การทดสอบความจำระยะสั้น (ช่วงเวลา 30 นาที)
- ทดลองด้วยวิธี paired associated learning (PAL) หรือวิธีการเรียนรู้แบบจับคู่เชื่อมโยง
– การทดสอบความจำเกี่ยวกับการมองเห็น
- ทดลองด้วยวิธี attention switching task (AST) หรือการวัดการจัดการและการตัดสินใจ
– การทดสอบการตอบสนองต่อการทำตามคำสั่ง
3. ผลการทดลอง
กลุ่มที่ได้รับ ลูทีนและซีแซนทิน สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการจดจำได้ดีกว่าอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเทียบกับ กลุ่มยาหลอก
- การทดสอบความจำระยะสั้น (ในทันที) แบบที่1 และ 2 กลุ่มที่ได้รับลูทีนและซีแซนทินแสดงผลการทดสอบที่ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอก
- การทดสอบความจำเกี่ยวกับการมองเห็น กลุ่มที่ได้รับลูทีนและซีแซนทินแสดงผลการทดสอบที่ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอก
- การทดสอบการตอบสนองต่อการทำตามคำสั่ง กลุ่มที่ได้รับลูทีนและซีแซนทินแสดงผลการทดสอบที่ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอก
4. สรุปผลจากงานวิจัยนี้
การได้รับอาหารเสริมลูทีนและซีแซนทิน เป็นประจำ มีส่วนช่วยในการทำงานของสมอง โดยเฉพาะการเพิ่มความสามารถในการจดจำและการมองเห็น