เมื่ออายุมากขึ้น สายตาก็เริ่มฝ้าฟาง มองอะไรไม่ค่อยชัดเหมือนแต่ก่อน ได้ยินแบบนี้ หลายคนคงคิดว่าเป็นเรื่องปกติที่เกิดจากความเสื่อมตามวัย แต่นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือน!! ของภาวะ “ต้อกระจก”
ซึ่งทุกคนทราบไหมว่า? “ต้อกระจก” ถือเป็นโรคตาที่ร้ายแรงมาก เพราะเป็นสาเหตุอันดับ 1 ที่ทำให้คนไทยและคนทั่วโลกตาบอดมากที่สุด สำหรับประเทศไทย พบว่า มีผู้ป่วยต้อกระจกทั่วประเทศสูงถึง 51.6% และมีอาการตาบอดจากต้อกระจกราว ๆ 100,000 ราย/ปี เลยทีเดียว
ทำความรู้จัก “โรคต้อกระจก”
ต้อกระจก เกิดจากโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบของเลนส์แก้วตา (Lens) จับตัวกัน และขยายขนาดใหญ่ขึ้น จนทำให้เลนส์แก้วตามีความขุ่นมัวขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้แสงไม่สามารถผ่านเข้าไปยังจอประสาทตาได้อย่างเต็มที่ จึงทำให้จอประสาทตารับภาพได้ไม่ชัดเจน นำไปสู่อาการดังต่อไปนี้
- ตาพร่ามัว เห็นภาพเบลอ เหมือนมีฝ้าหรือหมอกมาบัง
- เห็นภาพซ้อน
- แพ้แสงจ้า สู้แสงสว่างไม่ได้ มองเห็นแสงไฟกระจาย โดยเฉพาะเวลาขับรถตอนกลางคืน
- เห็นสีภาพผิดเพี้ยนไปจากเดิม
ส่วนปัจจัยหลักที่ทำให้เกิด “ต้อกระจก” มาจากอายุที่เพิ่มขึ้น ซึ่งพบมากในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดโรคนี้ได้เช่นกัน อาทิเช่น กรรมพันธุ์ ดวงตาได้รับรังสี UV เป็นเวลานาน เคยได้รับอุบัติเหตุบริเวณดวงตา หรือใช้ยาหยอดตาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์เป็นเวลานาน เป็นต้น
รู้หรือไม่ ! หากละเลย ปล่อยให้เลนส์ตากลายเป็นสีขุ่นขาวทั้งหมด จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอย่าง “ต้อหิน” ตามมาได้
งานวิจัย ป้องกัน “ต้อกระจก” ด้วย ลูทีนและซีแซนทีน
มีงานวิจัยจากสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (National Institutes of Health; NIH) ประเทศสหรัฐอเมริกาที่ทำการศึกษาผลของ “ลูทีนและซีแซนทีน” ในการป้องกันการเกิดภาวะต้อกระจก เปรียบเทียบกับการใช้ยาหลอก (placebo)
โดยงานวิจัยมีวิธีการทดลอง ดังนี้
1. คัดเลือกอาสาสมัคร
อาสาสมัครเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงในการเกิดภาวะ “ต้อกระจก” จำนวน 3,159 คน โดยมีอายุระหว่าง 50-85 ปี
2. แบ่งกลุ่มอาสาสมัคร
ในการทดลอง จะแบ่งอาสาสมัครออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
- กลุ่มที่ได้รับลูทีน 10 มก. และซีแซนทีน 2 มก. ต่อวัน จำนวน 787 คน
- กลุ่มที่ได้รับยาหลอก (placebo) จำนวน 775 คน
3. วิธีวัดผลการทดลอง
วัดผลการทดลอง โดยให้อาสาสมัครเข้ารับการตรวจตาจากจักษุแพทย์เป็นประจำทุกปี ด้วยการใช้ “Slit lamp” ซึ่งเป็นเครื่องมือพิเศษที่ใช้ในการตรวจดูลักษณะของเลนส์แก้วตา

การตรวจตาโดยใช้ “Slit lamp”
4. ผลการทดลอง
หลังจากการทดลองเป็นเวลา 5 ปี พบว่า กลุ่มที่ได้รับลูทีน 10 มก. และซีแซนทีน 2 มก. ต่อวัน มีความเสี่ยงในการเกิดโรคต้อกระจกลดลง 32% เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก
สรุปผลจากงานวิจัย
จากการทดลองสรุปผลได้ว่า การทาน “ลูทีนและซีแซนทีน” เป็นประจำ สามารถป้องกันหรือชะลอการเกิดต้อกระจกได้
ที่มา : Age-related Eye Disease Study 2 (AREDS2) Research Group. 2013. Lutein/zeaxanthin for the treatment of age-related cataract: AREDS2 randomized trial report no. 4. JAMA Ophthalmol 131 (7): 843–850.
ถึงแม้ว่าในปัจจุบัน ยังไม่มียาหรืออาหารเสริมตัวไหน ที่สามารถรักษาต้อกระจกให้หายขาดได้ แต่เราสามารถ “ป้องกัน” หรือ “ชะลอ” การเกิดโรคนี้ โดยการดูแลดวงตาตั้งแต่เนิ่น ๆ ด้วยวิธีง่าย ๆ เช่น สวมแว่นกันแดด พักสายตา หมั่นตรวจตาเป็นประจำทุกปี รวมไปถึงการทานอาหารเสริมบำรุงดวงตาที่มีลูทีนและซีแซนทีน เพราะหากเป็นมากขึ้น จะต้องรักษาโดยการผ่าตัดลอกต้อกระจกออกเท่านั้น!!
เฮอร์บิเทีย ลูทีน (Herbitia Lutein) ตัวช่วยฟื้นบำรุงดวงตาแบบเร่งด่วน ช่วยป้องกันการเกิดต้อกระจก และเพิ่มประสิทธิภาพในการมองเห็น โดยมีปริมาณ “ลูทีน” 19 มก. และ “ซีแซนทีน” 0.95 มก. รวมเป็น 19.95 มก. ใกล้เคียงกับงานวิจัยมากที่สุด!
นอกจากนี้ เฮอร์บิเทีย ลูทีนยังประกอบด้วย สารสกัดจาก “บิลเบอร์รี่” และ “โกจิเบอร์รี่” อีกด้วย