การมองเห็นไม่ชัด ตาพร่า ตามัว จากการเป็น “ต้อกระจก” เป็นเรื่องใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม และถ้าหากปล่อยไว้ไม่รักษา ทำให้เป็น ต้อหินเฉียบพลัน จนตาบอดได้ !
รู้จักกับ “ต้อกระจก”
ต้อกระจก (Cataract) เป็นโรคที่พบมากในผู้สูงอายุ เกิดจากภาวะที่เลนส์ตาเสื่อมสภาพ เปลี่ยนจากใสเป็นขุ่น ประสาทตาจึงรับแสงได้ไม่เต็มที่ ทำให้การมองเห็นไม่ชัดเจนหรือมีอาการตามัว ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น การขับรถ เพราะอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้
ยิ่งไปกว่านั้น “ต้อกระจก” ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เป็น ต้อหินเฉียบพลัน อีกด้วย !
ไขข้อสงสัย “ต้อหินเฉียบพลัน” คืออะไร ?
ต้อหินเฉียบพลัน เกิดจากภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ของดวงตา เช่น ต้อกระจก เนื่องจากต้อกระจก ทำให้เกิด ความดันลูกตาสูงผิดปกติอย่างเฉียบพลัน เซลล์ประสาทในจอประสาทตาถูกทำลาย จนการมองเห็นผิดปกติ หรือถึงขั้นสูญเสียการมองเห็น
“ต้อกระจก” ทำให้เป็น “ต้อหินเฉียบพลัน” ได้อย่างไร?
มีงานวิจัยที่ชี้ว่า ผู้ป่วยต้อกระจกที่ไม่เข้ารับการรักษา จะทำให้เลนส์ตามีความหนาหรือบวมมากกว่าปกติ ทำให้ม่านตาตื้น จนเกิดการอุดกั้นทางเดินของน้ำที่หล่อเลี้ยงลูกตา ส่งผลให้ความดันลูกตาจะสูงขึ้น จนเกิดเป็น ต้อหินเฉียบพลัน ในที่สุด
นอกจากนี้ ต้อกระจก ในระยะ Hypermature จะมีการรั่วไหลของโปรตีนออกมาจากเลนส์ตา จนเกิดการอุดตันการระบายน้ำ ความดันลูกตาจะสูงขึ้น ทำให้เป็น ต้อหินเฉียบพลัน ได้เช่นกัน
Hypermature หรือที่เรียกกันว่า ต้อสุก เกิดจากเส้นใยแก้วตาทุกเส้นเกิดความขุ่น ทำให้มองเห็นแก้วตาเป็นสีขาวขุ่นทั้งอัน การมองเห็นในระยะนี้จะแย่ลงมาก
การดูแลผู้ป่วยจึงเน้นที่ การควบคุมความดันลูกตา เพื่อป้องกันการเกิด ต้อหินเฉียบพลัน
ดังนั้น การลดความดันลูกตา จึงเป็นการลดความเสี่ยงการเกิด ต้อหินเฉียบพลัน ซึ่งทำได้ทั้งจากการผ่าตัด รับประทานยา หรืออาหารเสริม หยอดยา และการปรับพฤติกรรม
- หลีกเลี่ยงอาหารที่มีแคลอรี่สูง เพราะจะทำให้อินซูลินในกระแสเลือดเพิ่มสูงขึ้น ความดันลูกตาจะเพิ่มขึ้นได้
- ออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที จะช่วยลดระดับอินซูลินในเลือด ทำให้ความดันลูกตาลดลงได้
- รับประทานอาหารที่มีลูทีนและซีแซนทีน เนื่องจากเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดความเสียหายที่เกิดกับจอประสาทตา เพื่อไม่ให้ประสาทตาเสียหาย ลดความเสี่ยงความดันลูกตาสูงได้
ขอขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก :
Glaucoma Medical Diagnosis & Therapy [2015]