เคยหรือไม่? รู้สึกตาไม่สู้แสง ไม่สบายตาเมื่ออยู่ในที่แสงจ้า อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า! คุณมีอาการ “ตาแพ้แสง” อย่ารอช้า…รีบหาวิธีรับมือก่อนเกิดผลเสียต่อสุขภาพตาในระยะยาว

“ตาแพ้แสง สู้แสงไม่ได้” อาการที่ไม่ควรมองข้าม!

ตาแพ้แสง (Photophobia) หรืออาการตาไม่สู้แสง เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ซึ่งเกี่ยวข้องกับเซลล์ในดวงตาที่ตรวจจับแสง และเส้นประสาทที่ส่งต่อไปยังสมอง มักเกิดจากอาการตาแห้งหรือโรคอื่น ๆ เช่น ไมเกรน ต้อกระจกในระยะต้น กระจกตาอักเสบ เป็นต้น 

โดยอาการที่พบได้บ่อย ได้แก่

  • ตาไม่สู้แสง ต้องหรี่ตาเมื่อสัมผัสแสง
  • รู้สึกตาแห้ง ไม่สบายตา
  • แสบตา ระคายเคืองตา
  • มีน้ำตาไหลออกมามาก

วิธีรับมือกับอาการตาแพ้แสงที่สามารถทำได้ง่าย ๆ เช่น ใช้น้ำตาเทียม สวมหมวกหรือแว่นตา และการเลือกรับประทานอาหารที่ช่วยบำรุงดวงตา เช่น อาหารที่อุดมไปด้วยลูทีนและซีแซนทีน

ลูทีน…สารอาหารที่เป็นมิตรต่อดวงตา

ลูทีน (Lutein) จัดเป็นสารในกลุ่มแคโรทีนอยด์ที่พบได้บริเวณจอประสาทตา (Macular) ถือเป็นสารสีในจอประสาทตาที่ทำหน้าที่กรองแสงสีฟ้า ปกป้องดวงตาจากแสงแดด ช่วยเสริมสร้างการมองเห็น และมีคุณสมบัติช่วยลดอาการ ตาแพ้แสง” ได้อีกด้วย

งานวิจัย บอกลา “ตาแพ้แสง” อย่างได้ผล ด้วย “ลูทีน”  

ในปี 2020 มีงานวิจัยจากประเทศญี่ปุ่น ที่ศึกษาเกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลูทีน ในการเพิ่มความหนาแน่นของเม็ดสีที่จอประสาทตา และความสามารถในการแยกความแตกต่างของสี เมื่ออยู่ในที่แสงจ้าหรือในที่มืด เปรียบเทียบกับการใช้ยาหลอก โดยมีวิธีการทดลองดังนี้

1. คัดเลือกอาสาสมัคร

  • อาสาสมัครเป็นเพศชายและหญิง อายุระหว่าง 20-69 ปี
  • ไม่เคยได้รับการผ่าตัดแก้ไขสายตา และมีค่าสายตาปกติ

2. แบ่งกลุ่มการทดลอง

แบ่งอาสาสมัครออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

  • กลุ่มที่ได้รับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลูทีน 12 มก./วัน จำนวน 27 คน
  • กลุ่มที่ได้รับยาหลอก (Placebo) จำนวน 31 คน

ทำการทดลองเป็นระยะเวลา 16 สัปดาห์

3. วิธีวัดผลการทดลอง

วัดผลการทดลองด้วยการตรวจวัดสายตา โดยประเมินผลจาก…

  • Macular pigment optical density (MPOD) หรือการวัดความหนาแน่นของสารสีที่จอประสาทตา
  • Contrast sensitivity (CS) หรือความสามารถในการแยกความแตกต่างของสี 
  • Glare sensitivity หรือความสามารถในการแยกความแตกต่างของสีเมื่ออยู่ในที่แสงจ้า และแสงสะท้อน

Contrast sensitivity และ Glare sensitivity เป็นการวัดความสามารถในการแยกความแตกต่างของสีในสภาวะที่แสงต่างกัน โดยใช้เครื่อง Contrast glare test CGT-2000 ที่มุมสายตาระดับ 4.0°

4. ผลการทดลอง

การวัดความหนาแน่นของสารสีที่จอประสาทตา (MPOD)

จากผลการทดลองจะเห็นได้ว่า เมื่อเวลาผ่านไป 16 สัปดาห์ กลุ่มที่ได้รับ “ลูทีน” มีความหนาแน่นของสารสีที่จอประสาทตาเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก ที่ความหนาแน่นของสารสีมีค่าเท่าเดิม

ความสามารถในการแยกความแตกต่างของสี (Contrast sensitivity)

จากผลการทดลองจะเห็นได้ว่า เมื่อเวลาผ่านไป 16 สัปดาห์ กลุ่มที่ได้รับ “ลูทีน” มีความสามารถในการแยกความต่างของสี “สูงกว่า” กลุ่มที่ได้รับยาหลอก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 

ความสามารถในการแยกความแตกต่างของสีเมื่ออยู่ในที่แสงจ้า และแสงสะท้อน (Glare sensitivity)

จากผลการทดลองจะเห็นได้ว่า เมื่อเวลาผ่านไป 16 สัปดาห์ กลุ่มที่ได้รับ “ลูทีน” มีความสามารถในการแยกความต่างของสีในสภาวะที่มีแสงจ้า และแสงสะท้อน “สูงกว่า” กลุ่มที่ได้รับยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

สรุปผลการทดลอง

การรับประทานลูทีน 12 มก./วัน ต่อเนื่องกันเป็นเวลา 16 สัปดาห์ มีส่วนช่วยทำให้การมองเห็นดีขึ้นทั้งในสภาวะปกติ และมีแสงจ้า ดังนี้

  • ช่วยเพิ่มความหนาแน่นของสารสีที่จอประสาทตา ซึ่งสารสีดังกล่าว ยิ่งมีปริมาณมาก ก็จะช่วยให้รู้สึกสบายตามากขึ้นเมื่อต้องเจอแสง และช่วยป้องกันการเกิดต้อกระจกที่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการตาแพ้แสงได้
  • ช่วยเพิ่มความสามารถในการแยกความแตกต่างของสี ทำให้การมองเห็นชัดเจนยิ่งขึ้น
  • ช่วยเพิ่มความสามารถในการแยกความแตกต่างของสีในสภาวะที่มีแสงจ้า และแสงสะท้อน ทำให้การมองเห็นชัดเจนขึ้นเมื่อต้องอยู่ในที่ที่มีแสงจ้า