ในท้องตลาดมี “อาหารเสริมบำรุงดวงตา” เกิดขึ้นมากมายหลายแบรนด์ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า แบรนด์ไหนมีปริมาณเพียงพอต่อการบำรุงดวงตา ปลอดภัย น่าเชื่อถือ และราคาคุ้มค่าต่อการเสียเงิน วันนี้ทางเราจึงรวบรวมข้อมูลและการคำนวณ “ลูทีนและซีแซนทีน” สารอาหารบำรุงดวงตาที่สำคัญ ให้ได้ผลตามงานวิจัย ในราคาที่คุ้มค่าและปลอดภัย มาฝากทุกคนกันค่ะ
อย. ไทย กำหนด “ลูทีน+ซีแซนทีน” ไม่เกิน 20 mg.
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กำหนดให้ 1 หน่วยบริโภค มีลูทีนและซีแซนทีนรวมกันไม่เกิน 20 มก./แคปซูล
เพราะฉะนั้น คนไทยไม่ควรทานลูทีนและซีแซนทีนเกิน 20 mg.ต่อวัน เนื่องจากลูทีนและซีแซนทีนเป็นสารสีเหลืองในกลุ่มแคโรทีนอยด์ หากทานติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ร่างกายจะนำสารเหล่านี้ไปสะสมไว้ที่ตับ ทำให้เกิดอาการตัวเหลือง (Carotenemia) โดยเฉพาะบริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้า แต่ไม่ต้องตกใจ!! อาการดังกล่าวจะกลับมาเป็นปกติ เมื่องดการทาน ลูทีน ซีแซนทีนและผักผลไม้สีเหลือง เขียว ประมาณ 2-3 สัปดาห์
สินค้าใดระบุ “ลูทีน+ซีแซนทีน”เกิน 20 มก. ถือเป็น สินค้าปลอม!! มีโทษตามกฎหมาย
ทาน “ลูทีน & ซีแซนทีน” อย่างไร…ให้ได้ประโยชน์
มีงานวิจัยหลายฉบับที่รับรองว่า หากทาน “ลูทีนและซีแซนทิน” ในปริมาณที่เหมาะสม จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนี้
- ลูทีน 6-20 มก. และซีแซนทีน 0.2-4 มก. ต่อวันเป็นประจำ จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดต้อกระจกและจอประสาทตาเสื่อม
- ลูทีนและซีแซนทีนรวมกัน 20 มก. ต่อวัน นาน 24-42 สัปดาห์ จะช่วยเพิ่มระดับการมองเห็นในผู้มีปัญหาจอประสาทตาเสื่อม
ทำความเข้าใจเรื่อง “สารสกัด” และ “สารสำคัญ”
หลายคนมักเกิดความสับสนระหว่าง “สารสกัด” กับ “สารสำคัญ” ต่างกันอย่างไร? จึงขออธิบายง่าย ๆ ในกรณีของสารสกัดและสารสำคัญที่ได้จาก “พืช” ดังนี้
- สารสกัด เกิดจากกระบวนการแยกสารออกฤทธิ์ ออกจากพืช
- สารสำคัญ คือ สารออกฤทธิ์ที่อยู่ในพืชนั้น ๆ
ยกตัวอย่าง จากรูปภาพ…
- สารสกัด คือ ผงที่ได้จากการสกัดดอกดาวเรือง โดยมีสารออกฤทธิ์ คือ ลูทีนและซีแซนทีน
- สารสำคัญ คือ ลูทีน 19 มก. และซีแซนทีน 0.95 มก. ในผงที่สกัดจากดอกดาวเรือง จำนวน 95 มก.
รวม 7 ฉลาก “อาหารเสริมบำรุงดวงตา” ที่คุณควรรู้
1. แจ้ง “สารสกัด” แต่ไม่แจ้งสารสำคัญ
ฉลากแบบนี้ทำให้เราทราบที่มาของสารสกัด แต่ไม่ทราบปริมาณของสารสำคัญที่แท้จริง ซึ่ง ส่วนใหญ่จะระบุสารสกัดให้ดูเยอะไว้ก่อน เช่น สารสกัดจากดอกดาวเรือง 150 มก. สารสกัดจากบิลเบอร์รี่ 30 มก. เป็นต้น
**ข้อมูลเหล่านี้ต้องดูกันดี ๆ**
2. แจ้งเฉพาะสารสำคัญ
ฉลากแบบนี้ระบุปริมาณสารสำคัญชัดเจน แต่จะไม่ทราบที่มาที่ไปว่าสกัดจากอะไร ซึ่งฉลากแบบนี้ส่วนใหญ่จะมาจาก “สารสังเคราะห์”
3. คำนวณแบบเปอร์เซ็นต์
ฉลากแบบนี้ มักระบุสารสกัดให้ดูเยอะไว้ก่อนและระบุสารสำคัญในรูปของ “เปอร์เซ็นต์” ซึ่งลูกค้าต้องมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการแปลงหน่วย
ยกตัวอย่างเช่น สารสกัดจากดอกดาวเรือง 85 มก. ให้ลูทีน 10% และซีแซนทีน 2% เมื่อลองคำนวณดูจะพบว่า 1 แคปซูล ได้ลูทีนเพียง 8.5 มก. และซีแซนทีน 1.7 มก. ซึ่งรวมกันไม่เกิน 20 มก. (หากเกินก็ผิดกฎหมาย)
หากมี “ลูทีน+ซีแซนทีน” เกิน 20 มก. เข้าข่ายผิดกฎหมาย!!
4. แจ้งปริมาณ “สารสกัด” และ “สารสำคัญ” อย่างชัดเจน
เป็นฉลากที่ระบุที่มาของสารสกัดและปริมาณสารสำคัญอย่างชัดเจน เช่น สารสกัดดอกดาวเรือง 150 มก. ให้ลูทีน 19 มก.
5. ฉลากไทยกับฉลากอังกฤษไม่ตรงกัน
สินค้าบางชนิด จะแสดงฉลากไทยและอังกฤษไม่ตรงกัน ตรงนี้ผู้บริโภคต้องสังเกตเอง เพื่อประโยชน์ของตัวท่านเอง
ฉลากแบบนี้ทำให้เกิดความสับสนได้ง่ายและจำเป็นต้องดูข้อมูลให้ละเอียด!! ก่อนตัดสินใจซื้อ
6. ฉลากเชิงซ้อน
ฉลากแบบนี้พบได้ไม่บ่อยนัก โดยมักจะระบุส่วนประกอบในรูปของ “เปอร์เซ็นต์” ซ้อน “เปอร์เซ็นต์” และใส่เลขทศนิยมเยอะ ๆ ทำให้เกิดความสับสนได้ง่าย
ยกตัวอย่างเช่น ลูทีน 5% จะให้ลูทีน 10.00000% เมื่อลองคำนวณดูจะพบว่า ได้ลูทีนเพียง 2.5 มก./แคปซูล เท่านั้น!!
7. โบรชัวร์กับฉลากที่ขวดไม่ตรงกัน
กลลวงแบบนี้ค่อนข้างเป็นที่นิยมในเมืองไทย คือ โบรชัวร์แนะนำผลิตภัณฑ์ ฉลากที่กล่องและฉลากที่ขวด แสดงปริมาณสารไม่ตรงกัน ดังนั้น หากท่านซื้อสินค้าออนไลน์ แนะนำให้พนักงานส่งรูปถ่ายฉลากที่ขวดให้ดูด้วย หรือเป็นไปได้ ก็ให้ถ่ายทั้งฉลากที่กล่องและฉลากที่ขวด เพื่อเทียบกันได้เช่นกัน
วิธีนี้ทำให้ลูกค้าสับสนได้ง่าย
เฮอร์บิเทีย ลูทีน (Herbitia Lutein) ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารฟื้นบำรุงดวงตาแบบเร่งด่วน ความเข้มข้นตามงานวิจัย สำหรับผู้ที่มีปัญหาดวงตา ผู้ที่อยู่หน้าจอเป็นประจำหรือผู้ที่ต้องการบำรุงดวงตาเป็นพิเศษ
เฮอร์บิเทีย ลูทีน 1 แคปซูล มีสารสำคัญ ลูทีน 19 มก. และซีแซนทีน 0.95 มก. รวมเป็น 19.95 มก. ซึ่งเป็นปริมาณสูงสุดตามที่กฏหมาย อย.กำหนด และเป็นปริมาณที่ใกล้เคียงกับงานวิจัยที่ให้ผลลัพธ์ว่าการมองเห็นของผู้มีปัญหาการมองเห็น ดีขึ้นได้กว่าเดิมถึง 60%
นอกจากนี้ เฮอร์บิเทีย ลูทีน ยังประกอบด้วย สารสกัดจาก “บิลเบอร์รี่” และ “โกจิเบอร์รี่” อีกด้วย