ผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์ส่วนใหญ่ ล้วนเคยมีอาการ “PMS” (Premenstrual Syndrome) ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ และพฤติกรรมในผู้หญิงก่อนมีประจำเดือน ทำให้มีความเครียดเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
โดยสาเหตุของ PMS นั้นค่อนข้างซับซ้อน และเป็นภาวะที่เกิดขึ้นเรื้อรัง จึงต้องใส่ใจในเรื่องการใช้ยาเป็นพิเศษ ซึ่งการใช้ยาสมุนไพรจึงเป็นวิธีการที่ดีที่สุด เนื่องจากมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และมีผลข้างเคียงต่ำ

กิงโกะ (Ginkgo)
“กิงโกะ” (Ginkgo) เป็นสมุนไพรจีนโบราณ มีส่วนประกอบของ ฟลาโวนอยด์ไกลโคไซด์ (Flavonoid) และ เทอร์ปีนแลคโตน (terpeenlacton) นอกจากนี้สารสกัดจากกิงโกะ สามารถรักษาอาการผิดปกติต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น โรคอัลไซเมอร์, ภาวะสูญเสียความทรงจำ, สมองเสื่อม, การไหลเวียนเลือดในสมองและตามีปัญหา และป้องกันการเจ็บป่วยได้ดีอีกด้วย กิงโกะจึงถูกนำมาใช้เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอย่างแพร่หลาย เนื่องจากว่ามีความปลอดภัย และไม่มีผลข้างเคียง ทำให้ภาควิชาการผดุงครรภ์ของ Shahid Beheshti University of Medical Sciences กรุงเตหะราน ประเทศอิหร่าน สนใจและนำมาศึกษาฤทธิ์ของกิงโกะต่ออาการ “PMS” โดยมีวิธีการทดลอง ดังนี้
1. คัดเลือกอาสาสมัคร
คัดเลือกอาสาสมัครเพศหญิง จำนวน 90 คน ที่มีอาการตรงตามเกณฑ์ของกลุ่มอาการ PMS โดยมีเกณฑ์การคัดเลือก ดังนี้
- มีสถานภาพโสด
- มีช่วงอายุระหว่าง 18-30 ปี
- ดัชนีมวลกาย (BMI) อยู่ระหว่าง 19.8-26
- มีรอบประจำเดือนปกติ อยู่ที่ 21-35 วัน
- ไม่มีความผิดปกติทางจิตและร่างกาย เช่น ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน (hypothyroidism), โรคทางอารมณ์ (mood disorders)
- ไม่ได้ทานยาอื่น ๆ เช่น ยาต้านการแข็งตัวของเลือด, ยารักษาโรคซึมเศร้า, ยาคุมกำเนิด และยาสมุนไพรอื่น ๆ
2. แบ่งกลุ่มอาสาสมัคร
โดยในการทดลอง จะแบ่งอาสาสมัครออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 45 คน ได้แก่
- กลุ่มที่ได้รับสารสกัดจากกิงโกะปรับมาตรฐาน หรือ EGb761 ซึ่งมีส่วนประกอบของ มีสารสกัดจากกิงโกะ 40 มิลลิกรัม (ฟลาโวนอยด์ไกลโคไซด์ 24% และเทอร์ปีนแลคโตน 6%)
- กลุ่มที่ได้รับยาหลอก (Placebo)
โดยแต่ละกลุ่มจะได้รับยาดังกล่าว 3 ครั้งต่อวัน ตั้งแต่วันที่ 16 ของรอบประจำเดือน จนถึงวันที่ 5 ของรอบประจำเดือนครั้งถัดไป ติดต่อกัน 2 รอบประจำเดือน
3. การเก็บข้อมูล
ทำการเก็บข้อมูล โดยให้อาสาสมัครกรอกแบบสอบถามประเมินอาการรายวันด้วยตนเอง ตลอดรอบประจำเดือนติดต่อกัน 2 รอบ โดยแบบสอบถามประเมินอาการรายวัน ประกอบไปด้วย 18 อาการของ PMS ตามคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต (DSM-IV) เพื่อวินิจฉัยกลุ่มอาการ PMS เบื้องต้น ได้แก่

คู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต (DSM-IV)
โดยหากอาสาสมัครเคยมีอาการดังกล่าวอย่างน้อย 5 ข้อ ในระหว่างช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาของช่วงระยะหลังไข่ตก (luteal phase) ซึ่งเป็นสัปดาห์ที่ไม่มีประจำเดือน และมีอาการดังกล่าวอย่างน้อย 2 รอบ ประจำเดือน แสดงว่าอาสาสมัครอยู่ในกลุ่มอาการ PMS โดยแบ่งความรุนแรงของอาการ ออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
- ความรุนแรงของอาการต่ำ (คะแนนต่ำกว่า 33%)
- ความรุนแรงของอาการปานกลาง (คะแนนอยู่ระหว่าง 33 – 66%)
- ความรุนแรงของอาการสูง (คะแนนสูงกว่า 66%)
4. ผลการทดลอง
อาสาสมัครกลุ่มที่ได้รับยาสมุนไพรสกัดจากกิงโกะ มีความรุนแรงของกลุ่มอาการ PMS ลดลง 23.68% ในขณะที่อาสาสมัครกลุ่มที่ได้รับยาหลอก มีความรุนแรงของกลุ่มอาการ PMS ลดลง 8.74%
สรุปผลจากงานวิจัย
กลุ่มที่ได้รับสารสกัดจากกิงโกะ มีอาการ PMS โดยรวมลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก ดังนั้น กิงโกะจึงสามารถลดอาการหงุดหงิดขั้นรุนแรงก่อนมีประจำเดือน หรือ PMS ได้