เชื่อว่าหลายคนคงเคยมีอาการเวียนหัว เห็นสิ่งรอบตัวกำลังหมุน รู้สึกโคลงเคลง ทรงตัวไม่ค่อยอยู่กันมาบ้าง ซึ่งเราอาจคิดว่าเป็นอาการเวียนหัว บ้านหมุนทั่วไป แต่รู้หรือไม่ว่า? อาการเหล่านั้นอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคบางอย่างที่คุณคาดไม่ถึง อย่างโรคตะกอนหินปูนในหูชั้นในหลุด (BPPV)
รู้หรือไม่ ! โรคตะกอนหินปูนในหูชั้นในหลุด (Benign Paroxysmal Positional Vertigo; BPPV) ถือเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเวียนหัว บ้านหมุน ที่พบได้บ่อยที่สุด
ตะกอนหินปูนในหูชั้นในหลุด (BPPV) หนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้ “เวียนหัว บ้านหมุน”
โดยปกติแล้ว ภายในหูชั้นในของคนเรา จะมีอวัยวะควบคุมเกี่ยวกับการทรงตัว ที่มีรูปร่างคล้ายท่อครึ่งวงกลมอยู่ 3 ส่วน ได้แก่ ยูลตริเคิล (Utricle) แซกคลู (Saccule) และเซมิเซอร์คิวลาร์แคแนล (Semicircular canal)
ในส่วนยูลตริเคิล (Utricle) จะมีตะกอนหินปูนเกาะอยู่กับเส้นประสาท
ซึ่งหากมีสาเหตุให้ตะกอนหินปูนหลุดจากยูลตริเคิล (Utricle) ไปอยู่ในส่วนของเซมิเซอร์คิวลาร์แคแนล (Semicircular canal) จะทำให้เกิดอาการเวียนหัว บ้านหมุน ดังต่อไปนี้
- อาการเวียนหัวเกิดขึ้นเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ประมาณ 1-5 นาที และเกิดได้หลายครั้งต่อวัน
- รู้สึกเวียนหัวทันทีเมื่อเคลื่อนไหว หรือขยับศีรษะ
- ดวงตาทั้งสองข้างกระตุกไปในทิศทางเดียวกัน ส่งผลให้เห็นภาพสั่น จึงเป็นที่มาของอาการบ้านหมุน
- การได้ยินเป็นปกติ ไม่มีอาการหูอื้อ หรือได้ยินเสียงผิดปกติในหู
สำหรับสาเหตุที่ทำให้ตะกอนหินปูนเกิดการหลุดนั้น พบว่ามีหลายปัจจัยเสี่ยง แต่ส่วนใหญ่มักเกิดจากการเปลี่ยนท่าทางของศีรษะทันทีทันใด เช่น ระหว่างกำลังล้มตัวลงนอนหรือลุกจากที่นอน ก้มหยิบของ เงยหน้า เป็นต้น
อาการเวียนหัว บ้านหมุน จากตะกอนหินปูนในหูหลุด พบได้มากในวัยกลางคน และผู้สูงอายุ
ส่วนวิธีรักษาอาการเวียนหัว บ้านหมุนที่เกิดจากสาเหตุนี้ ส่วนใหญ่แพทย์จะเน้นการทำกายภาพบำบัด เพื่อให้ตะกอนหินปูนเคลื่อนกลับเข้าที่เดิม และแนะนำให้หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรม หรือท่าทางที่ก่อให้เกิดอาการเวียนหัว บ้านหมุน นอกจากนี้การทาน “กิงโกะ” หรือที่รู้จักกันดีในชื่อแป๊ะก๊วย สุดยอดสมุนไพรบำรุงสมอง ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยลดอาการเวียนหัว บ้านหมุนได้เช่นกัน
“กิงโกะ” ตัวช่วยลดอาการเวียนหัว บ้านหมุน
มีการศึกษาอย่างแพร่หลายถึงประโยชน์ของกิงโกะ โดยพบว่ากิงโกะ มีคุณสมบัติช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดในหูชั้นในและสมอง โดยมีฤทธิ์ในการขยายหลอดเลือด และลดความหนืดของเลือด
ด้วยเหตุนี้ จึงมีงานวิจัยจากโรงพยาบาลในประเทศอินเดีย ที่ให้ความสนใจทำการศึกษาฤทธิ์ของกิงโกะ ต่ออาการเวียนหัว บ้านหมุน ที่เกิดจากตะกอนหินปูนในหูชั้นในหลุด (BPPV) โดยมีวิธีการทดลองดังนี้
1. คัดเลือกอาสาสมัคร
อาสาสมัครเป็นผู้ที่มีอาการเวียนหัว บ้านหมุน ที่เกิดจากโรคตะกอนหินปูนในหูชั้นในหลุด (BPPV) จำนวน 92 คน โดยมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 50 ปี และผู้ป่วยต้องไม่มีโรคประจำตัว ดังต่อไปนี้
- เบาหวาน (Diabetes)
- ไขมันในเลือดสูง (Hyperlipidemia)
- โรคหลอดเลือดสมอง (Cerebrovascular diseases)
2. แบ่งกลุ่มการทดลอง
ในการทดลอง จะแบ่งอาสาสมัครออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 46 คน ดังนี้
- กลุ่มที่ได้รับสารสกัดกิงโกะ 120 มก. ต่อวัน
- กลุ่มที่ได้รับยาหลอก (placebo)
ทำการทดลองเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์
3. วิธีวัดผลการทดลอง
วัดผลการทดลอง โดยให้อาสาสมัครทำแบบสอบถามผลกระทบของอาการเวียนหัว บ้านหมุน ต่อการทำกิจวัตรประจำวัน (Dizziness Handicap Inventory; DHI) จำนวน 25 ข้อ แบ่งออกเป็น 3 หัวข้อ ได้แก่ ด้านการทำงาน ด้านอารมณ์ และด้านร่างกาย
โดยแต่ละข้อจะสามารถเลือกตอบตามความถี่ของผลกระทบได้ 3 ระดับ ดังนี้
- สม่ำเสมอ (เท่ากับ 4 คะแนน)
- บางครั้ง (เท่ากับ 2 คะแนน)
- ไม่เคย (เท่ากับ 0 คะแนน)
ซึ่งคะแนนรวมจะมีค่าตั้งแต่ 0-100 คะแนน โดยจัดแบ่งระดับความรุนแรง ดังต่อไปนี้
- อาการเวียนหัว บ้านหมุน ส่งผลต่อกิจวัตรประจำวันในระดับต่ำ (คะแนนอยู่ระหว่าง 0-39)
- อาการเวียนหัว บ้านหมุน ส่งผลต่อกิจวัตรประจำวันในระดับปานกลาง (คะแนนอยู่ระหว่าง 40-69)
- อาการเวียนหัว บ้านหมุน ส่งผลต่อกิจวัตรประจำวันในระดับสูง (คะแนนอยู่ระหว่าง 70-100)
4. ผลการทดลอง
จากผลการทดลองจะเห็นได้ว่า กลุ่มที่ได้รับสารสกัดกิงโกะ 120 มก. ต่อวัน มีคะแนนความรุนแรงของอาการเวียนหัว บ้านหมุน ที่ส่งผลต่อการทำกิจวัตรประจำวัน “ต่ำกว่า” กลุ่มที่ได้รับยาหลอก และมีคะแนนลดลงเรื่อย ๆ ตลอดระยะเวลาทำการทดลองทั้ง 6 สัปดาห์
สรุปผลจากงานวิจัย
จากการทดลองสรุปผลได้ว่า การทานสารสกัดจาก “กิงโกะ” เป็นประจำ ช่วยลดอาการเวียนหัว บ้านหมุน ที่เกิดจากโรคตะกอนหินปูนในหูชั้นในหลุด (BPPV) ได้ อีกทั้งยังไม่มีผลกระทบต่อร่างกาย เนื่องจากเป็นสารสกัดจากธรรมชาติ