การใช้ชีวิตในสังคมปัจจุบันที่มีทั้งความเครียดและปัญหาต่าง ๆ อาจทำให้รู้สึกเศร้า หดหู่ เบื่อหน่าย ไม่มีความสุข จนเป็น “โรคซึมเศร้า” โดยไม่รู้ตัว !
โรคซึมเศร้า เป็นโรคทางจิตเวชที่มีความเกี่ยวข้องกับอารมณ์ มักเกิดจาก 3 สาเหตุหลัก คือ
- พันธุกรรม มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคซึมเศร้า
- ความผิดปกติของการหลั่งสารเคมีในสมอง หรือความผันผวนของระดับฮอร์โมน
- ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากสถานการณ์ ความเครียด อารมณ์ หรือเหตุการณ์ที่ทำให้สะเทือนใจ
โรคซึมเศร้า สามารถรักษาหรือบรรเทาให้ดีขึ้นได้ จากการพูดคุย การทำจิตบำบัด รวมถึงการใช้ยาในการรักษา หากได้รับการรักษาเร็ว ผู้ป่วยจะดีขึ้นจนสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ
ในตำราแพทย์จีนโบราณมีการนำ “กิงโกะ” หรือ “แปะก๊วย” มาใช้ประโยชน์ในผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาทและสมอง นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่นำ “กิงโกะ” มาเป็นตัวช่วยในการรักษาโรคซึมเศร้าอีกด้วย
“กิงโกะ” ตัวช่วย รักษาโรคซึมเศร้า
สารสกัดกิงโกะ (Ginkgo biloba extract : EGb) ช่วยฟื้นบำรุงระบบประสาทและสมอง มีสารสำคัญพวกฟลาโวนอยด์และเทอร์ปีน แลคโตน ช่วยต้านการจับตัวเป็นก้อนของเกล็ดเลือด เพิ่มอัตราการหมุนเวียนของเลือด ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยปกป้องระบบประสาท ป้องกันสารพิษ และการบาดเจ็บที่ทำให้เกิดภาวะสมองบวม
งานวิจัย ใช้ “กิงโกะ” ร่วมกับการรักษาอาการโรคซึมเศร้า
ในปี 2018 Zhejiang Provincial Administration of Traditional Chinese Medicine ได้ศึกษาการใช้สารสกัดกิงโกะร่วมกับการให้ยาในการรักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้า โดยมีวิธีการทดลอง ดังนี้
1. คัดเลือกอาสาสมัคร
อาสาสมัครเป็นผู้ป่วยที่ได้การรับวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้า จำนวน 136 คน ตามหลักเกณฑ์ของ American Psychiatric Association (DSM-V) โดยมีเกณฑ์การคัดเลือก ดังนี้
- เพศชายและหญิง อายุ 60 ปีขึ้นไป
- ไม่แพ้สารสกัดกิงโกะและยารักษาอาการโรคซึมเศร้า
- ไม่รับประทานยา หรือดื่มสุราในปริมาณมาก ภายใน 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา
- ไม่มีประวัติติดสุราหรือสารเสพติด
- ไม่มีโรคทางจิตเวชอื่น ๆ ไม่เป็นโรคไบโพล่าร์ ไม่มีประวัติโรคทางสมอง
- ไม่มีประวัติเป็นโรคจิตเภท
- ไม่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด หรือโรคเกี่ยวกับเลือด
- ไม่เป็นโรคเกี่ยวกับตับและไต รวมถึงโรคที่เกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ
2. แบ่งกลุ่มการทดลอง
แบ่งอาสาสมัครออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
- กลุ่มที่ได้รับสารสกัดกิงโกะร่วมกับยารักษาอาการโรคซึมเศร้า (EGb + Cit)
- กลุ่มที่ได้รับยารักษาอาการโรคซึมเศร้าเพียงอย่างเดียว (Cit)
3. วิธีวัดผลการทดลอง
วัดผลการทดลองโดยใช้แบบประเมิน Hamilton Depression Rating Scale (HAMD) เป็นแบบประเมินวัดระดับความรุนแรงของอาการซึมเศร้าในผู้ป่วย หากมีคะแนนรวมจากแบบทดสอบยิ่งสูง แสดงว่า ความรุนแรงของอาการซึมเศร้าในผู้ป่วยจะสูงตามไปด้วย ดังนี้
- 0 – 7 คะแนน = ปกติ
- 8 – 13 คะแนน = ซึมเศร้าเล็กน้อย
- 14 – 18 คะแนน = ซึมเศร้าปานกลาง
- 19 – 22 คะแนน = ซึมเศร้ารุนแรง
- ≤ 23 คะแนน = ซึมเศร้ารุนแรงมาก
HAMD นิยมใช้ในการประเมินผลการรักษาและการทำวิจัยทางจิตเวชศาสตร์ เนื่องจากมีจำนวนข้อไม่มาก ไม่ยาก ใช้เวลาน้อย และมีความแม่นยำในการวัดการเปลี่ยนแปลงของโรคสูง
4. ผลการทดลอง
คะแนนจากการทำแบบประเมิน HAMD
จะเห็นได้ว่า คะแนนของผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มก่อนการทดลองไม่แตกต่างกัน แต่ในทุกสัปดาห์หลังการทดลอง กลุ่มที่ได้รับสารสกัดกิงโกะร่วมกับยารักษาอาการโรคซึมเศร้า (EGb + Cit) มีคะแนนต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับยารักษาอาการโรคซึมเศร้าเพียงอย่างเดียว (Cit) ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
คะแนนจากการทำแบบประเมิน HAMD หลังการทดลองเป็นเวลา 12 สัปดาห์
กลุ่มที่ได้รับสารสกัดกิงโกะร่วมกับยารักษาอาการโรคซึมเศร้า (EGb + Cit) มีระดับคะแนนลดถึง 72% ในขณะที่กลุ่มที่ได้รับยารักษาอาการโรคซึมเศร้าเพียงอย่างเดียว (Cit) มีคะแนนลดเพียง 63% ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
พูดอีกอย่างก็คือ เมื่อผ่านไป 12 สัปดาห์ ผู้ป่วยที่ได้รับสารสกัดกิงโกะร่วมกับยารักษาอาการโรคซึมเศร้า (EGb + Cit) มีอาการเหลือเพียงภาวะซึมเศร้าเล็กน้อย ในขณะที่กลุ่มที่ได้รับยารักษาอาการโรคซึมเศร้าเพียงอย่างเดียว (Cit) ภาวะซึมเศร้าอยู่ในระดับปานกลาง
5. สรุปผลการวิจัย
หลังการรักษาเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ พบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับสารสกัดกิงโกะร่วมกับยารักษาอาการโรคซึมเศร้า (EGb + Cit) มีระดับความรุนแรงของโรคซึมเศร้าลดลงมากกว่า กลุ่มที่ได้รับยารักษาอาการโรคซึมเศร้าเพียงอย่างเดียว (Cit)
จึงสรุปได้ว่า “กิงโกะ” สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาโรคซึมเศร้า ควบคู่ไปกับการรักษาของแพทย์ได้จริง