อยากพักผ่อนเต็มที แต่ดูเหมือนจะยากกว่าที่คิด!! เพราะกลับเจอปัญหานอนไม่หลับ หลับยาก หลับไม่สนิท คอยกวนใจอยู่ตลอดทั้งคืน!! ส่งผลให้คนส่วนใหญ่แก้ปัญหานี้ด้วยการพึ่ง “ยานอนหลับ” กันมากขึ้น
แต่ทุกคนรู้หรือไม่ว่า? การรับประทานยานอนหลับบ่อยครั้งนั้น ส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายได้ วันนี้ Herbitia จึงรวบรวมผลข้างเคียงที่ทุกคนควรระวัง รวมถึงวิธีแก้อาการนอนไม่หลับ มาฝากกันค่ะ
สาเหตุที่ทำให้นอนไม่หลับ ล้วนมาจากหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น เครียดสะสม ติดโซเชียล ติดเกมส์ ทำงานหนัก รู้สึกหิวตอนกลางคืน หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และคาเฟอีนใกล้เวลานานมากเกินไป เป็นต้น
ประเภทของ “ยานอนหลับ” ที่นิยมใช้ มีอะไรบ้าง?
โดยส่วนใหญ่แล้ว “ยานอนหลับ” มักมีกลไกการออกฤทธิ์ที่แตกต่างกันออกไป โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มต่าง ๆ ดังนี้
- ยากลุ่มเบนโซไดอะซีปีน (Benzodiazepines) เป็นกลุ่มยาออกฤทธิ์ควบคุมความสมดุลของสารสื่อประสาทในสมองที่เรียกว่า กาบา ซึ่งจะทำให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น เหมาะสำหรับผู้ที่นอนหลับยาก ตื่นกลางดึกบ่อย
- ยากลุ่มบาร์บิทูเรต (Barbiturates) เป็นกลุ่มยาที่นิยมใช้กับกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการนอนไม่หลับ และเป็นโรควิตกกังวล โดยจะช่วยทำให้นอนหลับยาวนานมากยิ่งขึ้น แต่มักออกฤทธิ์กดการหายใจ จึงไม่เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคทางเดินหายใจ
- ยากลุ่มต้านฮีสตามีน (Antihistamine) ส่วนใหญ่มักใช้ในผู้ที่เป็นภูมิแพ้ เมาเรือ คัดจมูก ถึงแม้จะเป็นยาแก้ภูมิแพ้ แต่ยานี้ออกฤทธิ์ระงับประสาทที่ทำให้หลั่งสารฮีสตามีนออกมา จึงส่งผลให้คุณรู้สึกง่วงซึมหลังรับประทาน
- ยากลุ่มเมลาโทนิน (Melatonin) ช่วยรักษาอาการนอนหลับยาก นอนไม่หลับ และนอนผิดเวลาหรือที่เรียกว่าภาวะเจ็ตแล็ก (Jet Lag)

ยานอนหลับกลุ่ม Benzodiazepines เป็นกลุ่มยานอนหลับ ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากส่งผลข้างเคียงต่ำ
การรับประทานยานอนหลับให้ปลอดภัย ควรรับประทานในระยะเวลาสั้น หรือตามที่คุณหมอแนะนำ โดยไม่ควรเลือกซื้อยานอนหลับด้วยตัวเองและไม่ควรรับประทานในระยะยาว เพราะอาจทำให้ร่างกายของคุณดื้อยา มีอาการนอนไม่หลับที่แย่ลงกว่าเดิมได้เมื่อหยุดยา
ผลข้างเคียงของ “ยานอนหลับ” ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ
ถึงแม้ว่าการรับประทานยานอนหลับ จะช่วยแก้ปัญหาการนอนไม่หลับได้ แต่หากรับประทานติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็ส่งผลเสียต่อสุขภาพได้เช่นกัน อาทิเช่น
- คุณภาพการนอนหลับแย่ลง
- รู้สึกวิงเวียนศีรษะ มึนหัว
- ปวดหัว
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ริมฝีปากแห้ง
- น้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
- ท้องผูกหรือท้องเสีย
- ระบบความจำมีปัญหา ขาดสมาธิในการจดจ่ออย่างใดอย่างหนึ่ง
- หัวใจเต้นผิดปกติ
นอกจากนี้ “ยานอนหลับ” อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อคุณรับประทานยานอนหลับในขณะที่ทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรต่าง ๆ หรือก่อนขับยานพาหนะ เพราะเสี่ยงง่วงซึม นำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุจนได้รับบาดเจ็บ หรือเสียชีวิตได้
วิธีเอาชนะการนอนไม่หลับ โดยไม่ต้องพึ่งยา!!
การรับประทาน “ยานอนหลับ” อาจไม่ใช่ทางออกเดียวเสมอไป ที่จะช่วยรักษาอาการนอนไม่หลับได้ เพราะยังมีอีกหลายวิธีที่จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งยา!! อาทิเช่น
- นอนหลับพักผ่อนให้ตรงเวลา
- งดการนอนหลับตอนกลางวัน
- จำกัดการเล่นโซเชียลมีเดีย ดูโทรทัศน์ หรือเล่นเกมส์ก่อนเข้านอน
- ผ่อนคลายความเครียด ความกังวลใจก่อนเข้านอน
นอกจากนี้ อาจเสริมด้วยการทานสมุนไพรที่มีสรรพคุณช่วยบำรุงสมอง ช่วยให้หลับสนิทมากขึ้น ซึ่งปลอดภัยกว่ายา และให้ผลดีไม่แพ้กับการใช้ยานอนหลับ