บ่อยครั้งที่เข้านอน หัวถึงหมอนตั้งเเต่ 4 ทุ่ม เเต่สมองกลับคิดฟุ้งซ่านตลอดเวลา จนทำให้ “นอนไม่หลับ” หลายคนจึงแก้ปัญหานี้ ด้วยการ “พึ่งยาแก้แพ้” เพียงเพราะหวังผลให้ “กินแล้วง่วง” โดยที่ไม่รู้เลยว่า การใช้ยาผิดวัตถุประสงค์แบบนี้ จะเกิดผลเสียต่อร่างกายมากน้อยแค่ไหน วันนี้ Herbitia มีคำตอบค่ะ

กินยาแก้แพ้เพื่อหลับ ส่งผลข้างเคียงต่อร่างกายมากมาย

รู้จัก “ยาแก้แพ้” มากแค่ไหน?

ปัจจุบัน ยาแก้แพ้สามารถแบ่งได้ 2 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้

  1. ยาแก้แพ้ที่ “กินแล้วง่วง” (ยาต้านฮีสตามีนรุ่นที่ 1) ตัวอย่างยากลุ่มนี้ ได้แก่ Chlorpheniramine Diphenhydramine Hydroxyzine เป็นต้น
  2. ยาแก้แพ้ที่ “กินแล้วไม่ง่วง” (ยาต้านฮีสตามีนรุ่นที่ 2) ตัวอย่างของยากลุ่มนี้ได้แก่ Loratadine Cetirizine Fexofenadine เป็นต้น
Chlorpheniramine จัดเป็นยาแก้แพ้ชนิดที่กินแล้วง่วง (ยาต้านฮีสตามีนรุ่นที่ 1)

Chlorpheniramine จัดเป็นยาแก้แพ้ชนิดที่กินแล้วง่วง

โดยคนที่เป็นภูมิแพ้และต้องกินยาแก้แพ้เป็นประจำ มักเลือกใช้ยาแก้แพ้ในกลุ่มที่ “กินแล้วไม่ง่วง” เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ

แต่ในบางคนกลับเลือกใช้ยาแก้แพ้ที่ “กินแล้วง่วง” ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้เป็นภูมิแพ้ เพื่อแก้อาการนอนไม่หลับ 

ซึ่งต้องขอบอกเลยว่า “ไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง” เพราะนอกจากจะเป็นการใช้ยาผิดประเภทแล้ว หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน จะก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อร่างกายตามมาได้อีกด้วย

ผลข้างเคียงของ “ยาแก้แพ้” ที่คุณคาดไม่ถึง!

สำหรับผลข้างเคียงของยาแก้แพ้แบบ “กินแล้วง่วง” เมื่อรับประทานติดต่อกันเป็นเวลานาน ได้แก่

  • ปากแห้ง คอแห้ง
  • สมองเบลอ มึนงง ตอบสนองช้าลง
  • เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคสมองเสื่อม
  • เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดต้อหิน เนื่องจากยาแก้แพ้มีส่วนทำให้ความดันลูกตาสูงขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดต้อหิน และหากใช้ยาแก้แพ้ในคนที่มีภาวะต้อหินอยู่แล้ว จะทำให้อาการกำเริบได้
  • ตามัว 
  • ท้องผูก
  • ปัสสาวะลำบาก
  • ส่งผลเสียต่อตับและไต

ทุกคนคงจะเห็นแล้วว่า การกินยาแก้แพ้เพื่อหลับ ส่งผลข้างเคียงต่อร่างกายมากมายขนาดไหน เพราะฉะนั้นควรใช้ยาแก้แพ้เมื่อจำเป็น และใช้ให้ตรงกับโรคจะดีที่สุด

จะดีกว่าไหม? ถ้าเราหันมาใช้สารสกัดจากธรรมชาติที่มีความปลอดภัยสูง ในการแก้ปัญหา “นอนไม่หลับ หลับยาก” แทนการใช้ยาที่มีผลข้างเคียงสูง 

“กาบา” ทางเลือกใหม่ของคนนอนไม่หลับ การันตีด้วยงานวิจัย

กาบา (GABA) หรือ Gamma aminobutyric acid เป็นสารสื่อประสาท (Neurotransmitter) ในระบบประสาทส่วนกลาง ทำหน้าที่ช่วยปรับสมดุลสมอง ทำให้สมองเกิดความผ่อนคลาย ลดอาการเครียด วิตกกังวล ลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ จึงมีส่วนช่วยเรื่องการนอนหลับ ทำให้หลับสบาย นอนหลับง่ายขึ้นอีกด้วย

แหล่งของกาบา (Gaba) มักพบในข้าวกล้องงอก เต้าหู้ ธัญพืชต่างๆ

กาบา (GABA) ในข้าวกล้องงอก (Germinated brown rice)

แหล่งของกาบา มักพบในพืชหลายชนิด เช่น ข้าวกล้องงอก เต้าหู้ ใบถั่ว ธัญพืช เป็นต้น

ด้วยเหตุนี้ จึงมีการนำสารสกัดจากกาบา มาใช้เป็นทางเลือกเพื่อแก้อาการ “นอนไม่หลับ” กันมากขึ้น เนื่องจากเป็นสารสกัดจากธรรมชาติ และมีผลวิจัยรับรองถึงประสิทธิภาพอย่างชัดเจน

ยืนยันด้วยผลวิจัยจากโรงพยาบาลแผนกประสาทวิทยาในประเทศเกาหลีใต้ ในปี 2018 ที่ทำการทดลองให้ผู้มีปัญหานอนไม่หลับ ทานสารสกัดจากกาบา 300 มก./วัน เป็นเวลา 1 เดือน

การวัด Sleep latency

การวัดค่า Sleep latency

Sleep latency เป็นการประเมินเวลาตั้งแต่เริ่มเข้านอนจนถึงเริ่มหลับ (นาที)

การวัด Sleep efficacy

การวัดค่า Sleep efficacy

Sleep efficacy เป็นการประเมินประสิทธิภาพการนอนหลับ (%)

ผลลัพธ์ที่ได้ คือ

  • ค่า Sleep latency ลดลง แปลว่า ใช้เวลาตั้งแต่เข้านอนจนถึงเริ่มหลับ “สั้นลง”
  • ค่า Sleep efficacy สูงขึ้น แปลว่า ประสิทธิภาพในการนอนหลับ “เพิ่มขึ้น”

อ่านงานวิจัยเพิ่มเติม คลิกที่นี่ !