ปก Content อัลไซเมอร์คืออะไร

เมื่ออายุมากขึ้นสุขภาพร่างกายเราก็เริ่มทรุดโทรมลง โรคภัยต่างๆ ก็เริ่มถามหา แต่โรคที่เรามักนึกถึงเป็นอันดับแรกๆ มักจะเป็นโรค “อัลไซเมอร์” 

แต่สงสัยกันไหมว่าทำไมแก่แล้วถึงเป็นโรคนี้? แล้วถ้าคนรอบตัวเป็นขึ้นมาเราต้องทำยังไงล่ะ? มาดูสาเหตุของโรคและการปฏิบัติเมื่อคนใกล้ตัวเป็นกัน !!!

อัลไซเมอร์คืออะไร?

“อัลไซเมอร์” เป็นโรคที่ส่งผลให้สมองทำงานผิดปกติ โดยผู้ป่วยจะมีปัญหาเกี่ยวกับความจำ การเรียนรู้ และพฤติกรรมต่างๆ ซึ่งโรคอัลไซเมอร์เป็นโรคที่ไม่ใช่ความเสื่อมตามธรรมชาติ ผู้สูงอายุทุกคนไม่จำเป็นต้องป่วยเป็นอัลไซเมอร์

สาเหตุมาจากการเกิดโปรตีนประเภทหนึ่งชื่อว่า เบต้า-อะไมลอยด์ (Beta-Amyloid) มาเกาะตัวกับสมอง คล้ายหินปูนที่เกาะฟัน ทำให้เซลล์สมองบริเวณนั้นเสื่อมประสิทธิภาพลง

อัลไซเมอร์และะสมองเสื่อมไม่เหมือนกัน !!!

หลายๆ คนมักจะคิดว่าอัลไซเมอร์ก็คืออาการสมองเสื่อม แต่ความจริงแล้วทั้ง 2 อาการนี้ ไม่เหมือนกัน !!!

สมองเสื่อม นั้นเป็นภาวะที่นื้อเซลล์สมองเกิดการเสื่อมสภาพ ทำให้ความทรงจำ การใช้ความคิดและการตัดสินใจเสื่อมประสิทธิภาพลง เป็นอาการตามธรรมชาติที่สามารถเกิดได้กับทุกคน ซึ่งสามารถเกิดได้จากอายุที่มากขึ้น, พันธุกรรม, เป็นเนื้องอก, ผลข้างเคียงจากโรคประจำตัว หรือประสบอุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนศีรษะ

ส่วน อัลไซเมอร์ นั้นเกิดจากโปรตีนชื่อ “เบต้า-อะไมลอยด์” เกาะตัวที่สมองจากพฤติกรรมที่ส่งผลเสียต่อสมองต่างๆ ซึ่งเป็นอาการที่ไม่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ สามารถป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นได้

สรุปง่ายๆ ก็คือ สมองเสื่อม มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคนเมื่ออายุมากขึ้น
อัลไซเมอร์ เกิดจากพฤติกรรมเฉพาะ ไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นกับทุกคน

สาเหตุของอัลไซเมอร์

สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ คือโปรตีนประเภทหนึ่งที่มีชื่อว่า “เบต้า-อะไมลอยด์” (Beta-Amyloid) เกาะตัวที่สมองคล้ายคราบหินปูน ทำให้สมองบริเวณนั้นเริ่มเสื่อมสภาพ

ซึ่งโปรตีนประเภทนี้สมองจะสร้างขึ้นมาจากพฤติกรรมต่างๆ ที่รบกวนการทำงานของสมอง ซึ่งมักจะเริ่มสะสมตั้งแต่ช่วง 20 ปี ซึ่งจะสะสมต่อไปเรื่อยๆ และเริ่มแสดงอาการที่อายุประมาณ 50 ปีขึ้นไป

โดยเกิดจากพฤติกรรมต่างๆ ดังนี้

  • พักผ่อนไม่เพียงพอ หรือนอนหลับไม่สนิท
  • โรคประจำตัวต่าง เช่น ความดันโลหิตหรือเบาหวาน
  • อายุที่มากขึ้น เซลล์สมองเริ่มอ่อนแอ
  • มีสารอาหารไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอต่อการฟื้นฟู

อาการต่างๆ ของผู้ป่วยอัลไซเมอร์

ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์จะส่งผลโดยตรงต่อพฤติกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน โดยจะสังเกตได้จากอาการต่างๆ ดังนี้

  • หลงๆ ลืมๆ เริ่มจำคนอื่น หรือลืมไปว่าตัวเองกำลังจะทำอะไร
  • มีอาการเบื่ออาหาร ทานได้น้อยลง
  • อารมณ์แปรปรวนง่าย
  • ความสามารถในการตัดสินใจต่ำ
  • ย้ำคิดย้ำทำ ทำอะไรซ้ำไปซ้ำมาบ่อยๆ

ทำอย่างไรเมื่อคนใกล้ตัวเป็นอัลไซเมอร์?

หากคนใกล้ตัวของคุณเป็นโรคอัลไซเมอร์ เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้เหมือนเดิม คุณจำเป็นต้องปรับตัวหลายอย่างเพื่อดูแลเขา โดยสามารถทำได้ดังนี้

  • พาไปพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อทำการวินิจฉัยอาการอย่างสม่ำเสมอ
  • ดูและให้ทานอาหารและยาอย่างครบถ้วน เนื่องจากผู้ป่วยจะมีอาการเบื่ออาหาร หรือหลงคิดไปเองว่าทานอาหารและยาแล้ว จึงต้องดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อให้ได้รับยาและสารอาหารครบถ้วน
  • ทำความเข้าใจในอาาการ อย่ารำคาญหรือหงุดหงิดใส่ เนื่องจากผู้ป่วยจะมีอารมณ์ที่แปรปรวนบ้าง อาจทำให้ผู้เฝ้าดูแลนั้นหงุดหงิดหรือเสียกำลังใจ แต่ให้พยายามเข้าใจและคอยอยู่ข้างๆ
  • หางานอดิเรกให้ทำ เพราะงานอดิเรกนั้นเป็นสิ่งที่ช่วยผ่อนคลายสมองได้เป็นอย่างดี แถมยังเป็นการบริหารสมองอีกด้วย

เติมอาหารให้สมอง ป้องกันอัลไซเมอร์ด้วย Herbitia Brain Complex

โรคอัลไซเมอร์ส่วนมากยังไม่มีวิธีที่สามารถรักษาให้หายขาด … แต่เราสามารถฟื้นบำรุงสมองเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอัลไซเมอร์ได้ !

ด้วย Herbitia [ Brain Complex ] รวมคุณประโยชน์ที่จำเป็นต่อสมองไว้ในหนึ่งเดียว

  • สารสกัดจากแปะก๊วย ช่วยในการฟื้นบำรุงและพัฒนาการทางสมอง 
  • สารสกัดจากใบบัวบก ช่วยให้เลือดนำสารอาหารไปเลี้ยงสมองได้ดีขึ้น
  • DHA จากน้ำมันปลา ชะลอการเสื่อมของเซลล์สมอง ลดความเสี่ยงในโรคทางสมอง

ผ่อนคลายความเครียด ช่วยในการนอนหลับ สมองพักผ่อนได้อย่างเต็มที่ ลดโอกาสเกิดโรคทางสมองและอัลไซเมอร์ ฟื้นบำรุงสมองได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

ช่องทางด่วน… สำหรับปรึกษา/สอบถาม/สั่งซื้อสินค้า

ช่องทางด่วน… สำหรับปรึกษา/สอบถาม/สั่งซื้อสินค้า

คลิกที่นี่เพื่อสอบถามข้อมูลทางไลน์
คลิกที่นี่ เพื่อสอบถามข้อมูลทาง inbox
คลิกที่นี่ เพื่อโทรคุยกับแอดมิน 0837399822