ต้อกระจก (Cataract) ปัญหาดวงตายอดฮิตที่พบได้บ่อยเป็นอันดับต้น ๆ ในผู้สูงอายุ หรือคนวัย 50+ ขึ้นไป สาเหตุหลักมักเกิดจากความเสื่อมตามวัย โดยจากงานวิจัยหลายฉบับพบว่าการทาน ลูทีนเอสเทอร์หรือลูทีนบริสุทธิ์ ซึ่งเป็นสารอาหารบำรุงดวงตาที่สำคัญ มีส่วนช่วยป้องกันและชะลอการเกิดต้อกระจกได้

ลูทีนเอสเทอร์ กับการชะลอการเกิดต้อกระจก-1

ทำความรู้จัก “ต้อกระจก”

ต้อกระจก (Cataract) เกิดจากความเสื่อมของโปรตีนที่เลนส์ตา ทำให้เลนส์ตาเกิดความขุ่นมัวและแข็งขึ้น ส่งผลต่อการมองเห็น ทำให้ตาพร่ามัว มองเห็นภาพไม่ชัดเจน พบมากในคนวัย 50+ ขึ้นไป และผู้สูงอายุ เนื่องจากเลนส์ตาจะค่อย ๆ เสื่อมสภาพไปตามอายุ

นอกจากนี้อาจเกิดจากปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น พันธุกรรม ดวงตาสัมผัสกับแสง UV มากเกินไป, โรคเบาหวาน, เกิดอุบัติเหตุที่ดวงตา หรือการทานยาสเตียรอยด์เป็นเวลานาน

ลูทีนเอสเทอร์ กับการชะลอการเกิดต้อกระจก-2

อาการของ “โรคต้อกระจก”

  • ตาพร่ามัว มองเห็นภาพเหมือนมีหมอกหรือฝ้าขาวมาบัง
  • ตาแพ้แสง สู้แสงไม่ได้
  • มองเห็นไม่ชัดเจนในตอนกลางคืน หรือในที่ที่มีแสงสลัว
  • มองเห็นสีต่าง ๆ ดูซีดลง ไม่สดใสเหมือนเดิม
  • อาจเห็นภาพซ้อนในดวงตาข้างใดข้างหนึ่ง

ลูทีนเอสเทอร์ กับการชะลอการเกิดต้อกระจก-3

หากปล่อยไว้จนอาการรุนแรงและลุกลามมากยิ่งขึ้น อาจเกิดอาการแทรกซ้อน เช่น ปวดตาอย่างรุนแรง ม่านตาอักเสบ และลุกลามกลายเป็นต้อหินเฉียบพลัน หากรักษาไม่ทัน อาจทำให้สูญเสียการมองเห็นหรือตาบอดในที่สุด!

“ลูทีน เอสเทอร์” ตัวช่วยสำคัญในการป้องกันต้อกระจก

ลูทีนเอสเทอร์ (Lutein Ester) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ลูทีนทีนบริสุทธิ์ คือ ลูทีนชนิดแรกจากธรรมชาติที่พบได้ในผักผลไม้ทั่วไปที่มีสีเขียวเข้มและสีเหลือง เช่น ผักเคล ปวยเล้ง ฟักทอง และพบมากในดอกดาวเรือง ถือเป็นอีกหนึ่งฟอร์มของลูทีนที่มีประสิทธิภาพดีกว่าลูทีนรูปแบบทั่วไป (Lutein Free From)

ลูทีนเอสเทอร์ หรือ ลูทีนบริสุทธิ์ เป็นลูทีนที่มีความคงตัวสูงมาก ทั้งยังสามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ถึง 80% จึงช่วยบำรุงดวงตาได้อย่างมีประสิทธิภาพในหลาย ๆ ด้าน หนึ่งในนั้นคือการป้องกันและชะลอการเกิดโรคต้อกระจก โดยมีกลไกการทำงานดังนี้

  • ปกป้องดวงตาจากอนุมูลอิสระ

ลูทีนเอสเทอร์ ช่วยลดกระบวนการอักเสบที่อาจเกิดขึ้นในเลนส์ตาและเนื้อเยื่อรอบดวงตา ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต้อกระจก

  • กรองแสงสีฟ้า (Blue Light Filter)

ลูทีนเอสเทอร์ มีความสามารถในการกรองแสงสีฟ้าที่มีความยาวคลื่นสูง ซึ่งเป็นอันตรายต่อเลนส์ตา คุณสมบัติของลูทีนเอสเทอร์ในการกรองแสงสีฟ้านี้ จึงช่วยป้องกันการเสื่อมสภาพของเลนส์ตาที่จะทำให้เกิดโรคต้อกระจก

  • เสริมสร้างความแข็งแรงของเลนส์ตา

การสะสมของลูทีนในเลนส์ตาและจุดรับภาพชัด (Macula) จะช่วยลดความเสี่ยงในการที่โปรตีนจับตัวกันเป็นก้อนในเลนส์ตาซึ่งทำให้เกิดโรคต้อกระจกตามมา และทำให้เลนส์ตาแข็งแรง ไม่เสื่อมสภาพง่าย

  • ลดการอักเสบในดวงตา

ลูทีนเอสเทอร์ ช่วยลดกระบวนการอักเสบที่อาจเกิดขึ้นในเลนส์ตาและเนื้อเยื่อรอบดวงตา ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต้อกระจก

ปริมาณ “ลูทีนเอสเทอร์” ที่ควรได้รับต่อวัน

เราควรทานลูทีนเอสเทอร์ หรือลูทีนบริสุทธิ์ ไม่น้อยกว่า 10 มก./วัน จึงจะได้ประโยชน์จากการทาน สามารถป้องกันและชะลอการเกิดต้อกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยแหล่งอาหารที่มีลูทีนสูง สามารถพบได้ในผัก ผลไม้ที่มีสีเหลืองและสีเขียวเข้มอย่าง ผักคะน้า บรอกโคลี ปวยเล้ง ฟักทอง มะละกอ เป็นต้น นอกจากนี้ การรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบำรุงดวงตาที่มีสารอาหารสำคัญอย่างลูทีนเอสเทอร์ ก็ถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ตอบโจทย์และสะดวกมากยิ่งขึ้น

เคล็บลับในการป้องกัน “โรคต้อกระจก”

นอกจากการทานลูทีนเอสเทอร์เพื่อช่วยป้องกันและชะลอการเกิดโรคต้อกระจก การหันมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันควบคู่ไปด้วยก็ถือเป็นสิ่งสำคัญ โดยมีข้อแนะนำดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการเผชิญแสง UV โดยตรง และสวมแว่นกันแดดเมื่ออยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน
  • รับประทานยารักษาโรคประจำตัวอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานยาและการใช้ยาหยอดตากลุ่มสเตียรอยด์จนเกินความจำเป็น
  • หลีกเลี่ยงอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นกับดวงตา อย่าให้ดวงตาโดนกระแทก
  • งดสูบบุหรี่ งดดื่มแอลกอฮอล์
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • หมั่นตรวจสายตาเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป

การทานลูทีนเอสเทอร์หรือลูทีนบริสุทธิ์เป็นประจำทุกวันในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ไม่เพียงแต่จะช่วยบำรุงสุขภาพดวงตาโดยรวมให้แข็งแรง แต่ยังมีบทบาทสำคัญในการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต้อกระจกในอนาคต เพราะฉะนั้นแล้ว เราควรหมั่นเติมลูทีนให้ดวงตาตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อสุขภาพดวงตาที่แข็งแรง ห่างไกลโรคต้อกระจกกันนะคะ

—————————-

อ้างอิง
โรงพยาบาลพระรามเก้า (2024)
The Role of Lutein in Eye-Related Disease (2013)
Lutein – Uses, Side Effects, And More

อ่านบทความอื่นๆ เพิ่มเติม >> https://herbitia.com/article/