ดวงตาเป็นอวัยวะสำคัญที่ช่วยให้เรามองเห็นสิ่งต่าง ๆ รอบตัว การดูแลสุขภาพดวงตาให้แข็งแรงอยู่เสมอจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงสูงในการเกิด โรคจอประสาทตาเสื่อม

โรคจอประสาทตาเสื่อม (Age-related Macular Degeneration : AMD) เป็นภาวะที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของจุดรับภาพชัดที่อยู่ตรงกลางจอประสาทตา (Macula) สาเหตุเกิดจากมีการสะสมของโปรตีนหรือไขมันที่เรียกว่า Drusen ใต้จุดรับภาพตรงกลางจอประสาทตา เป็นสาเหตุให้จุดรับภาพชัดค่อย ๆ เสื่อมสภาพลงอย่างช้า ๆ

จากข้อมูลพบว่า ปัญหาสายตาที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในประเทศไทยอย่างเห็นได้ชัด คือโรคจอประสาทตาเสื่อม ซึ่งพบผู้ป่วยสูงถึง 18,700 คนต่อปี

ผู้ที่มีภาวะจอประสาทตาเสื่อม มักมีการมองเห็นดังต่อไปนี้

  • มองเห็นภาพไม่ชัด โดยเฉพาะบริเวณตรงกลางภาพ แต่ภาพด้านข้างจะยังเห็นได้ดีอยู่
  • มองเห็นจุดดำกลางภาพ
  • มองเห็นภาพบิดเบี้ยว
  • เห็นสีผิดสีเพี้ยน

ภาวะจอประสาทตาเสื่อม เกิดจากความเสื่อมตามวัย และพบมากในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดได้ ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้จนอาการรุนแรงมากขึ้น อาจส่งผลให้ตาบอดได้ในที่สุด

สำหรับสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลให้เกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม อาทิเช่น

  • อายุที่เพิ่มมากขึ้น
  • พันธุกรรม
  • การสูบบุหรี่
  • ดื่มแอลกอฮอล์
  • การที่ดวงตาสัมผัสแสงแดด หรือรังสี UV เป็นเวลานาน
  • ผู้ที่สายตาสั้นมาก ๆ
  • ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง
  • ผู้ที่ใช้เวลาอยู่กับหน้าจอเป็นเวลานาน 

สถาบัน NIH แนะนำสารอาหารบำรุงดวงตา ชะลอการเกิดจอประสาทตาเสื่อม

หนึ่งในคำแนะนำที่สำคัญจาก สถาบัน NIH หรือสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (National Institutes of Health) ซึ่งเป็นหน่วยงานวิจัยทางการแพทย์ของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มีงานวิจัยสนับสนุนเกี่ยวกับสารอาหารที่ช่วยป้องกันโรคจอประสาทตาเสื่อม โดยพบว่า ลูทีน และซีแซนทีน มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงและชะลอการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมได้

มีงานวิจัยสนับสนุนจากสถาบัน NIH ร่วมมือกับองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (NEI) ในปี
พ.ศ. 2544 ที่เรียกว่า AREDS (Age-Related Eye Disease Study) ได้ทำการทดลองให้ผู้ที่มีปัญหาจอประสาทตาเสื่อม (อายุ 55-80 ปี) รับประทานสูตร AREDS ซึ่งเป็นวิตามินรวมติดต่อกัน 5 ปี ได้แก่

  • วิตามินซี 500 mg.
  • วิตามินอี 400 IU
  • เบต้าแคโรทีน (Beta carotene) 50 mg.
  • สังกะสี (Zinc) 80 mg.
  • ทองแดง (Copper) 2 mg.

โดยปริมาณวิตามินที่ใช้นี้ ได้มาจากการประชุมตกลงกันของจักษุแพทย์กับเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านสารอาหาร

ผลการศึกษาพบว่า
วิตามินรวมสูตร AREDS ดังกล่าว ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคประสาทตาเสื่อมในระยะรุนแรงได้น้อยลง 25% แต่พบปัญหาในผู้ป่วยที่สูบบุหรี่ โดยพบว่าการใช้เบต้าแคโรทีนทำให้ความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปอดเพิ่มสูงขึ้น และมีความกังวลว่าการรับประทานสังกะสีในปริมาณสูงในสูตร AREDS อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงเล็กน้อย เช่น อาการปวดท้อง ระคายเคืองกระเพาะอาหารในบางคน

งานวิจัยสูตร AREDS2

ในปี พ.ศ. 2549 จึงได้มีการวิจัยเพิ่มเติมเรียกว่า AREDS2 โดยให้ผู้ที่มีปัญหาจอประสาทตาเสื่อมในระดับกลางและรุนแรง (อายุ 50-85 ปี) รับประทานวิตามินรวมสูตร AREDS2 เป็นเวลา 5 ปี เช่นกัน โดยปรับเปลี่ยนสูตรของวิตามินรวม ดังนี้

  • เปลี่ยนไปใช้ลูทีน 10 mg. และซีแซนทีน 2 mg. แทนการใช้เบต้าแคโรทีน
  • เพิ่มโอเมก้า-3 1,000 mg.
  • ลดปริมาณสังกะสิเหลือ 25 mg.

ผลการศึกษาพบว่า

  • เมื่อพิจารณาเฉพาะผู้เข้าร่วมที่รับประทานสูตร AREDS2 ที่มีลูทีนและซีแซนทีนแต่ไม่มีเบต้าแคโรทีน ความเสี่ยงในการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมขั้นรุนแรงในช่วง 5 ปีของการศึกษาลดลงประมาณ 18% เมื่อเทียบกับผู้เข้าร่วมที่รับประทานสูตร AREDS2 ที่มีเบต้าแคโรทีน แต่ไม่มีลูทีนและซีแซนทีน และได้ข้อสรุปว่าการใช้ลูทีนและซีแซนทีน มีความปลอดภัยมากกว่าเบต้าแคโรทีน (เนื่องจากเบต้าแคโรทีน อาจทำให้ผู้ป่วยที่สูบบุหรี่มีโอกาสเป็นมะเร็งปอดเพิ่มขึ้น)
  • การเพิ่มโอเมก้า-3 ไม่ได้มีผลใด ๆ ในการชะลอการลุกลามของโรคจอประสาทตาเสื่อม
  • การลดปริมาณสังกะสี ไม่ส่งผลใด ๆ ต่อการทดลอง

จากการทดลองจึงได้สูตร AREDS2 ออกมาตามนี้

  • วิตามินซี 500 mg.
  • วิตามินอี 400 IU
  • ทองแดง (Copper) 2 mg.
  • สังกะสี (Zinc) 80 mg.
  • ลูทีน (Lutein) 10 mg.
  • ซีแซนทีน (Zeaxanthin) 2 mg.

อย่างไรก็ตาม ทั้งงานวิจัยสูตร AREDS และ AREDS2 จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่มีปัญหาจอประสาทตาเสื่อมในระดับกลางและรุนแรง ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงการลุกลามของโรคให้น้อยลงได้ แต่หากมีปัญหาจอประสาทตาเสื่อมเล็กน้อยหรืออยู่ในระยะเริ่มต้น การรับประทานสูตร AREDS และ AREDS2 จะไม่ได้ประโยชน์จากการทานเท่าที่ควร

“ลูทีนเอสเทอร์” ลูทีนที่เหนือกว่า “ลูทีน”

ลูทีนเอสเทอร์ (Lutein Ester) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ลูทีนทีนบริสุทธิ์ ถือเป็นอีกหนึ่งฟอร์มของลูทีนที่มีประสิทธิภาพดีกว่าลูทีนรูปแบบทั่วไป (Lutein Free From) เป็นลูทีนชนิดแรกจากธรรมชาติที่พบได้ในผัก ผลไม้ที่มีสีเขียวเข้มและสีเหลือง ทั้งยังพบมากในดอกดาวเรือง

ลูทีนเอสเทอร์หรือลูทีนบริสุทธิ์ เป็นลูทีนที่มีความคงตัวสูงมาก ทั้งยังสามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ถึง 80% จึงสามารถออกฤทธิ์ฟื้นบำรุงดวงตาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีกลไกในการป้องกันและชะลอการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม ดังนี้

  • ลูทีนเอสเทอร์ ช่วยเพิ่มความหนาแน่นของสารสีที่จอประสาทตา ปกป้องเซลล์จอประสาทตาไม่ให้ถูกทำลาย
  • ลูทีนเอสเทอร์ ช่วยกรองแสงสีฟ้าจากหน้าจอ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคจอประสาทตาเสื่อม
  • ลูทีนเอสเทอร์ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็นในผู้ป่วยโรคจอประสาทตาเสื่อม

ตัวอย่างอาหารที่มี “ลูทีนเอสเทอร์” สูง!

1. ผักใบเขียว เช่น คะน้า ปวยเล้ง ผักโขม บรอกโคลี ผักกาด และผักสลัดสีเขียว เป็นต้น
2. ผักสีเหลือง-ส้ม เช่น ข้าวโพด แครอท ฟักทอง พริกหวานสีเหลืองและสีส้ม
3. ผลไม้ เช่น ส้ม มะม่วง กีวี อะโวคาโด
4. อาหารประเภทอื่น ๆ เช่น ไข่แดง (โดยเฉพาะไข่จากไก่ที่กินอาหารเสริมลูทีน) ถั่วพิสตาชิโอ และเมล็ดธัญพืชบางชนิด

สำหรับผู้ที่ไม่สามารถรับประทานอาหารที่มีลูทีนเอสเทอร์เพียงพอในแต่ละวัน การเลือกทานอาหารเสริมที่มีส่วนผสมของลูทีนเอสเทอร์ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ตอบโจทย์และสะดวกมากยิ่งขึ้น

ทาน “ลูทีนเอสเทอร์” อย่างไร? ให้ได้ประโยชน์สูงสุด

จากการศึกษาพบว่า การทานลูทีนเอสเทอร์อย่างน้อย 10 มก./วัน เป็นประจำทุกวัน จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม

นอกจากนี้ ลูทีนเอสเทอร์มีคุณสมบัติละลายในไขมันได้ดี จึงแนะนำให้ทานหลังมื้ออาหาร หรือทานลูทีนร่วมกับไขมันดี เช่น อะโวคาโด ปลาแซลมอน และถั่ว จะช่วยเพิ่มการดูดซึมลูทีนเอสเทอร์เข้าสู่ร่างกายได้ดียิ่งขึ้น

การป้องกันการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมตั้งแต่เนิ่น ๆ เริ่มต้นได้ง่าย ๆ จากตัวเราเอง ด้วยการเติมสารอาหารบำรุงดวงตาอย่างลูทีนเอสเทอร์ในทุก ๆ วัน ตามคำแนะนำของสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (NIH) พร้อมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันควบคู่ไปด้วย เช่น สวมแว่นกันแดดเมื่อต้องออกแดดเป็นเวลานาน หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หมั่นตรวจสุขภาพตาเป็นประจำ จะช่วยให้ดวงตาของเราแข็งแรง และลดความเสี่ยงในการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมในอนาคตนะคะ

อ้างอิง

National Institutes of Health, 2013, NIH study provides clarity on supplements for protection against blinding eye disease, https://www.nih.gov/news-events/news-releases/nih-study-provides-clarity-supplements-protection-against-blinding-eye-disease.

National Institutes of Health, 2024, Age-Related Eye Disease Studies (AREDS/AREDS2, https://www.nei.nih.gov/research/clinical-trials/age-related-eye-disease-studies-aredsareds2.

National Institutes of Health, 2024, AREDS/AREDS2 Clinical Trials, https://www.nei.nih.gov/research/clinical-trials/age-related-eye-disease-studies-aredsareds2/about-areds-and-areds2.

Carly Werner, 2024, Can Vitamins Help Slow Down Macular Degeneration?, https://www.healthline.com/health/eye-health/macular-degeneration-vitamins.

คลินิกจักษุ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ, ม.ป.ป., โรคจอประสาทตาเสื่อม, https://www.princsuvarnabhumi.com/articles/content-macular-degeneration