
แปะก๊วย (Gingko) พืชพื้นเมืองจากประเทศจีน ที่ถูกนำมาใช้รักษาโรคมาแล้วกว่า 4000 ปี
ลักษณะ : รูปร่างคล้ายใบพัดที่แยกออกเป็น 2 กลีบ
คุณสมบัติ : ใบ เมื่อนำไปสกัดจะมีฤทธิ์ช่วยบำรุงสมอง
เมล็ด สามารถนำไปประกอบอาหาร เมื่อทานแล้วจะช่วยเรื่องการย่อยอาหาร

เป็นที่รู้กันดีว่า “ใบแปะก๊วย” มีส่วนช่วยในการบำรุงสมอง นั่นเพราะใบแปะก๊วยมีสารอยู่ 2 ชนิด คือ ฟลาโวนอยด์(Flavonoids) และเทอร์พีนอยด์(Terpenoids) ที่สามารถกระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิต เป็นการเสริมสร้างการทำงานของอวัยวะต่างๆของร่างกาย เช่น ตา หู ขา และสมอง รวมถึงช่วยบรรเทาอาการของโรคอัลไซเมอร์ ความจำเสื่อม ปวดศีรษะบ่อย เวียนหัวบ้านหมุน วูบบ่อย
นอกจากนี้ยังมีสารที่มีฤทธิ์ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา ที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อในร่างกาย แต่ยังมีสารท็อกซิน (Toxin) พิษตามธรรมชาติที่อาจก่อให้เกิดอาการชักหรือหมดสติได้
บทบาทของใบแปะก๊วยในการเป็นตัวช่วยรักษาอาการของโรคเหล่านี้
1.อาการวิตกกังวล
แปะก๊วยสามารถลดอาการวิตกกังวลได้ มีงานวิจัยที่ชี้ให้เห็นว่า อาหารเสริมจากแปะก๊วยน่าจะช่วยลดอาการวิตกกังวลได้
การศึกษาในสัตว์ทดลอง มีการสังเกตว่าอาการวิตกกังวลนั้นลดลง ซึ่งน่าจะมาจากสารต้านอนุมูลอิสระของแปะก๊วย หนึ่งในการศึกษากลุ่มตัวอย่าง 170 คนที่มีอาการวิตกกังวลทั่วไป ได้รับการรักษา ด้วยสารสกัดจากแปะก๊วย 240 มก. และ 480 มก. และยาหลอก(ยาผง) กลุ่มที่ได้รับสารสกัดปริมาณสูงสุด (480 มก.) ของแปะก๊วย ผลรายงานว่า อาการความวิตกกังวลลดลง 45 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มยาหลอก
2.ความคิดความจำ
คุณสมบัติบางประการของแปะก๊วยมีส่วนช่วยในการเพิ่มการทำงานของสมอง มีการศึกษาว่าการได้รับสารสกัดใบแปะก๊วยในปริมาณไม่เกิน 240 มก. ให้ผลเรื่องการพัฒนาความจำมากกว่าการได้รับสารสกัดปริมาณมากอย่าง 600 มก. ต่อวัน
3.อาการทางสายตาและการมองเห็น
มีการศึกษาไม่มากที่สำรวจเรื่องความเกี่ยวข้องของการมองเห็นกับสารสกัดแปะก๊วย อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาหนึ่งแสดงให้เห็นว่าคนที่เป็นต้อหิน ที่ได้รับอาหารเสริมแปะก๊วย มีประสิทธิภาพของการไหลเวียนของเลือดที่ตาเพิ่มมากขึ้น แต่ไม่ได้ทำให้การมองเห็นดีขึ้น มีผลตอบรับของกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาผลกระทบของสารสกัดแปะก๊วยในกระบวนการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม ผู้เข้าร่วมบางรายรายงานว่ามีการมองเห็นที่ดีขึ้น แต่ไม่มีผลทางสถิติระบุแน่ชัด
มีผลการทดลองมากมายที่เกี่ยวกับการเพิ่มการไหลเวียนเลือดภายในดวงตา แต่ ไม่สามารถยืนยันได้ว่าแปะก๊วยจะช่วยเพิ่มการมองเห็นในคนที่ไม่ได้มีปัญหาด้านการมองเห็น
มีงานวิจัยที่คาดว่าแปะก๊วยสามารถเพิ่มประสิทธิภาพหรือชะลอการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม
4.ลดอาการก่อนมีประจำเดือน
มีงานวิจัยเบื้องต้นที่ชี้ว่ากิงโกะน่าจะช่วยรักษาอาการทางร่างกายและทางจิตใจของอาการก่อนมีประจำเดือน
มีงานวิจัยของ 85 มหาวิทยาลัยที่นักศึกษาเปิดเผยว่า เมื่อได้รับกิงโกะ อาการก่อนเมนมานั้นลดลง 23%
แต่เป็นที่น่าสนใจว่า ในกลุ่มยาหลอกของการศึกษานี้ ให้ผลลดลงของอาการก่อนมีประจำเดือนเช่นกัน ซึ่งลดลง 8.8%
อย่างไรก็ตาม งานวิจัยนี้ต้องได้รับการศึกษาและทำความเข้าใจอาการและผลกระทบของความสัมพันธ์ระหว่างกิงโกะและอาการก่อนมีประจำเดือน
5.อาการเวียนหัว บ้านหมุน
มีการทดลองที่สุ่มผู้ป่วยอายุเฉลี่ย 58 ปี จำนวน 160 คน ประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วย ขนาด 240 มิลลิกรัมต่อวันหรือยาเบตาฮีสทีน (Betahistine) ขนาด 32 มิลลิกรัมต่อวันเป็นเวลา 12 สัปดาห์ พบว่าสารสกัดจากแปะก๊วยมีประสิทธิภาพในการรักษาอาการวิงเวียนศีรษะเท่าเทียมกับเบตาฮีสทีน ซึ่งเป็นยาที่ใช้รักษาอาการวิงเวียนศีรษะอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
6.สมาธิสั้น
กิงโกะได้รับการสันนิษฐานว่าอาจมีส่วนช่วยในการรักษา ซึ่งจากการศึกษาที่ให้เด็กสมาธิสั้นรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วย ปริมาณ 240 มก ต่อวัน เป็นเวลา 3-5 สัปดาห์ ได้ผลว่า ในผู้ป่วยที่สมาธิสั้น มีความสามารถในการจดจ่อต่ำผลออกมายังไม่ดีขึ้น แต่สามารถใช้สารสกัดแปะก๊วยในเด็กที่สมาธิสั้นเป็นตัวช่วยในการรักษาทางการแพทย์ได้ แต่ยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป
7. สามารถรักษาอาการปวดหัวไมเกรนได้
ในยาแผนโบราณของจีน แปะก๊วยได้รับความนิยมมากในการรักษาอาการปวดหัวไมเกรน
มีงานวิจัยจำนวนหนึ่งเกี่ยวกับความสามารถของแปะก๊วยในการรักษาอาการปวดหัว อย่างไรก็ตาม ขึ้นอยู่กับอาการและที่มาด้วย
ยกตัวอย่างว่า เรื่องที่เรารู้กันคือแปะก๊วยสามารถแก้อาการอักเสบได้และเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ หากอาการปวดหัวไมเกรนมีที่มาจากความเครียด แปะก๊วยก็อาจจะมีประโยชน์
นอกจากนี้ ถ้าอาการปวดหัวมาจากการไหลเวียนของเลือดลดลงหรืออาการหลอดเลือดตีบ แปะก๊วยจะช่วยให้การไหลเวียนทำได้ดีขึ้น เป็นการฟื้นบำรุงอาการดังกล่าว