ทำไม “ต้อหิน” จึงเป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ที่ทำให้ตาบอด ? ทั้งที่จริง ๆ แล้วสามารถรักษาให้หายได้ ! วันนี้เรามีวิธีการรักษาต้อหินอย่างถูกวิธีมาฝาก แล้วคุณจะรู้ว่าต้อหินไม่ต้องจบที่การตาบอดเสมอไป
ทำความรู้จักกับ “ต้อหิน”
ต้อหิน (Glaucoma) เป็นภาวะที่ความดันลูกตาสูง และการไหลเวียนของเลือดในตาต่ำกว่าปกติ ทำให้ขั้วประสาทที่รับภาพไปแปลผลในสมองถูกทำลาย ระยะการมองเห็นโดยรอบจึงค่อย ๆ แคบลง จนสูญเสียการมองเห็นในที่สุด
ต้อหิน ระยะเริ่มแรกมักไม่แสดงอาการ ดังนั้น ผู้ที่มีความเสี่ยงดังต่อไปนี้ จึงควรตรวจคัดกรองปีละ 1 ครั้ง
- อายุมากกว่า 40 ปี
- มีประวัติคนในครอบครัวเป็นต้อหิน
- ใช้ยาสเตียรอยด์
- สายตาสั้นหรือยาวมากๆ
- เป็นโรคเบาหวาน
- เคยมีอุบัติเหตุเกี่ยวกับดวงตา
ผู้ป่วยต้อหิน ต้องได้รับการตรวจจากจักษุแพทย์ เพื่อเข้ารับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมตามระยะอาการของโรค
รักษา “ต้อหิน” อย่างไร ให้ถูกวิธี ?
1. การให้ยา (Medication)
การรักษาทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยต้อหินระยะเริ่มต้น นิยมใช้ยาหยอดตาชนิดเดียวหรือหลายชนิดผสมกัน เพื่อควบคุมความดันลูกตา เนื่องจากเป็นวิธีที่สะดวกและปลอดภัย
ป่วยจำเป็นต้องใช้ยาหยอดตาอย่างสม่ำเสมอตามคำแนะนำแพทย์ เพื่อป้องกันยาหมดฤทธิ์ ซึ่งจะทำให้ความดันลูกตาสูงขึ้น และขั้วประสาทถูกทำลายโดยไม่รู้ตัว
2. การใช้แสงเลเซอร์ (Laser trabeculoplasty)
เมื่ออาการรุนแรงขึ้นจนไม่สามารถรักษาโดยใช้ยาหยอดตาได้ จะใช้แสงเลเซอร์เจาะที่รูม่านตาหรือมุมตา เพื่อลดความดันลูกตา แต่วิธีนี้ให้ประสิทธิผลด้อยกว่าการผ่าตัด
ประเภทของเลเซอร์ที่ใช้ในการรักษาขึ้นอยู่กับระยะของโรค ต้องประเมินโดยแพทย์
3. การผ่าตัด (Trabeculectomy)
การผ่าตัดเป็นการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมความดันลูกตาด้วยการรักษาวิธีอื่น ๆ ได้ มี 2 แบบ คือ
- Trabeculectomy ผ่าตัดเพื่อทำทางระบายสำหรับน้ำหล่อเลี้ยงลูกตาใหม่
- Aqueous shunt surgery ผ่าตัดเพื่อใส่ท่อระบาย ในกรณีที่ผ่าด้วยวิธีแรกไม่ได้ผล
การผ่าตัดทำให้เกิดแผลที่ตาขาว ซึ่งอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้ เช่น การรั่วของน้ำในตาออกทางแผลผ่าตัด การติดเชื้อในตา เป็นต้น
- การผ่าตัดทางเลือกใหม่ หรือการผ่าตัดต้อหินแผลเล็ก (Minimally invasive glaucoma surgery : MIGS)
เป็นการผ่าตัดเพื่อใส่ท่อระบายน้ำตาขนาดเล็กผ่านช่องในตา เช่น ช่องใต้เยื่อบุตาขาว ซึ่งวิธีนี้จะไม่กรีดตาขาว ทำให้แผลจากการผ่าตัดเล็กมาก ผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวได้เร็ว แต่มีค่าใช้จ่ายสูง
“ต้อหิน” ไม่ใช่แค่รักษา แต่ต้องหมั่นดูแลด้วย
การรักษา “ต้อหิน” เป็นการรักษาส่วนที่เหลือไม่ให้ถูกทำลาย แต่ไม่สามารถรักษาขั้วประสาทที่ถูกทำลายแล้วให้กลับมาปกติได้ ดังนั้น เราควรหันมาดูแล บำรุง และฟื้นฟูส่วนที่เหลืออยู่ ทำได้โดยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดที่ไปเลี้ยงดวงตา ควบคู่ไปกับการรักษาของแพทย์
การเพิ่มการไหลเวียนของเลือด สามารทำได้ง่าย ๆ เช่น การออกกำลังกาย การงดสูบบุหรี่ การรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของสารสกัดกิงโกะ เป็นต้น
ป้องกันตาบอดจาก “ต้อหิน” ด้วยสารสกัดกิงโกะ
มีงานวิจัยที่รายงานว่า สารสกัดจากกิงโกะ มีส่วนช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด อีกทั้งยังช่วยป้องกันตาบอด ในผู้ป่วยโรค “ต้อหิน” นอกจากนี้ยังช่วยบำรุงระบบประสาทและสมอง ทำให้การมองเห็นชัดเจนยิ่งขึ้นอีกด้วย !
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ งานวิจัย ป้องกันตาบอด จาก “ต้อหิน” ด้วยกิงโกะ