โดยปกติแล้ว คนเราจะผมร่วงประมาณ 50-100 เส้น/วัน แต่ในขณะเดียวกันก็จะมีผมเส้นใหม่ขึ้นมาทดแทน ทำให้เส้นผม และหนังศีรษะยังดูสุขภาพดีอยู่เสมอ ยกเว้น!! ในกรณีที่คุณป่วยเป็นโรคบางชนิด ที่อาจส่งผลข้างเคียงทำให้ “ผมร่วง ผมบาง” มากกว่าปกติได้

วันนี้ ทาง Herbitia จึงได้รวบรวม 6 กลุ่มโรค ที่ส่งผลให้คุณ “ผมร่วง ผมบาง” มาฝากทุกคนกันค่ะ เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง ก่อนสูญเสียเส้นผมเส้นโปรดของคุณ!

เช็ค 6 กลุ่มโรค สาเหตุ “ผมร่วง ผมบาง”

1. โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis)

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ จนก่อให้เกิดความเสียหายบริเวณข้อต่อ ซึ่งโรคนี้อาจทำให้บางคน ผมร่วงเพียงเล็กน้อย หรือผมร่วงเป็นหย่อม (Alopecia areata)ได้

เนื่องจากโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ต้องทำการรักษาโดยใช้ยากดภูมิคุ้มกันในกลุ่ม DMARDS จึงส่งผลให้เซลล์ในร่างกายหยุดการเจริญเติบโต จนทำให้รูขุมขนบนหนังศีรษะอ่อนแอลง และผมร่วงในที่สุด

2. โรคถุงน้ำในรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome; PCOS)

สาเหตุการเกิดโรคถุงน้ำในรังไข่หลายใบ ส่วนหนึ่งมาจากการที่ร่างกายของผู้หญิง มีการผลิตฮอร์โมนเพศชาย ที่ชื่อว่า “แอนโดรเจน” (Androgen) สูงเกินไป ส่งผลให้ผมร่วง ผมบาง มากกว่าปกติ โดยเฉพาะบริเวณผมด้านหน้าของหนังศีรษะ เหมือนกับผู้ชายได้

3. โรคเบาหวาน (Diabetes)

โรคเบาหวาน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดพุ่งสูงขึ้น จนสร้างความเสียหายแก่เนื้อเยื่อและหลอดเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนได้ไม่สะดวก ซึ่งส่งผลให้เซลล์ในร่างกาย รวมถึงเซลล์รากผมขาดสารอาหารจนเสียสมดุลของวงจรการเจริญเติบโตของเส้นผม ทำให้เกิดภาวะผมร่วงด้นั่นเอง

เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผมขาดหลุดร่วงจนผมบาง ควรลดระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับมาตรฐาน หมั่นเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์แก่สุขภาพ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

4. โรคไทรอยด์ (Thyroid diseases)

หากป่วยเป็นโรคไทรอยด์ในระดับรุนแรง อาจส่งผลให้ผมร่วง” ได้ เนื่องจากมีการผลิตฮอร์โมนไตรไอโอโดโธโรนีน (Triiodothyronine; T3) และไทรอกซีน (Thyroxine; T4) ผิดปกติ ส่งผลให้เกิดภาวะผมร่วงเป็นหย่อม และหากปล่อยไว้เป็นเวลานาน สามารถทำให้หนังศีรษะล้านได้เลยทีเดียว

5. โรคโลหิตจาง (Anemia)

อาการเหนื่อยล้า เจ็บหน้าอก รวมถึงภาวะผมร่วงในโรคโลหิตจาง จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อร่างกายขาดสารอาหารอย่างธาตุเหล็ก เนื่องจากธาตุเหล็กมีเอนไซม์ไรโบนิวคลีโอไทด์รีดักเตส (Ribonucleotide reductase) ที่ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของเซลล์

จากการศึกษา ส่วนใหญ่พบว่าโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก อาจส่งผลให้ผู้หญิงผมร่วงแบบแอนโดรจีนีติก (Androgenetic)นั่นคือ ทำให้หนังศีรษะตรงกลางล้าน ผมร่วง ผมบาง และมีผมหงอกบริเวณหน้าผากได้

6. โรคแพ้ภูมิตัวเอง (Systemic Lupus Erythematosus; SLE)

โรคภูมิแพ้ตัวเอง หรือที่หลายคนรู้จักกันในชื่อ “โรคพุ่มพวง” อาจส่งผลให้คุณมีอาการผมร่วง ผมบาง ได้เช่นกัน เนื่องจากโรคนี้มักก่อให้เกิดการอักเสบจนเกิดเป็นแผล หรือผื่นบนผิวหนังทุกส่วนในร่างกาย รวมถึงหนังศีรษะ จึงเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวผมร่วงขึ้น

วิทยาลัยแพทย์ผิวหนังแห่งสหรัฐอเมริกา (American Academy of Dermatology) เผยว่า ผู้ที่เผชิญกับภาวะผมร่วงอาจขึ้นกับระดับความรุนแรงของโรคแพ้ภูมิตัวเองด้วย ซึ่งบางคนอาจมีผมแตกปลายหรือผมบางเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

หากคุณอยากมีสุขภาพเส้นผมที่แข็งแรง โปรดปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ในการรักษาโรคอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันการเกิดภาวะ ผมร่วง” ที่เป็นผลข้างเคียงส่วนหนึ่งของโรค ที่สำคัญควรหาตัวช่วยอย่างผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนประกอบของไบโอติน (Biotin) สารอาหารสำคัญที่มีส่วนช่วยในการชะลอการหลุดร่วงของเส้นผมได้เป็นอย่างดี