นอนไม่หลับ มักเกิดเมื่ออายุมากขึ้น หลายคนมักพบว่าการนอนหลับไม่ได้ง่ายอย่างที่เคยเป็น! บางครั้งกว่าจะข่มตาหลับลงได้ ก็ใช้เวลานาน แถมยังมีอาการนอนไม่หลับ สะดุ้งตื่นกลางดึกบ่อย ปัญหาเหล่านี้มักเกิดขึ้นในช่วงวัยทอง ซึ่งเป็นช่วงที่ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง หนึ่งในนั้นคือการลดลงของฮอร์โมนเมลาโทนิน และเซโรโทนิน ทำให้เกิดปัญหาการนอนหลับและความเครียดตามมาได้
เจาะลึก “วัยทอง” ปํญหาของคนวัย 40+
“วัยทอง” เป็นอาการที่พบได้บ่อยในคนวัย 40+ ขึ้นไป โดยวัยทองในเพศหญิง เกิดจากร่างกายหยุดการผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ส่งผลให้ไม่มีประจำเดือนอีกต่อไป
ทำภาพคู่กัน ระหว่างวัยทองเพศหญิง กับ วัยทองเพศชาย ว่าเกิดจากอะไร
นอกจากนี้ วัยทองยังสามารถเกิดขึ้นในผู้ชายได้เช่นกัน โดยเกิดจากการลดลงของฮอร์โมนเพศชาย ที่มีชื่อว่าเทสโทสเทอโรน (Testosterone) ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจตามมา
เช็คอาการ! สัญญาณ “วัยทองเพศหญิง” และ “วัยทองเพศชาย”
“การลดลงของฮอร์โมนเมลาโทนินและเซโรโทนิน” ในช่วงวัยทอง
เมลาโทนิน (Melatonin)
เป็นฮอร์โมนแห่งการนอนหลับ ทำหน้าที่ควบคุมวงจรการนอนหลับและตื่น โดยร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนนี้ออกมาในช่วงเวลากลางคืน ทำให้รู้สึกง่วงนอน แต่เมื่อเราก้าวเข้าสู่ช่วงวัยทอง ร่างกายจะผลิตเมลาโทนินลดลง ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านการนอนหลับ จะรู้สึกหลับยากขึ้น หลับ ๆ ตื่น ๆ หรือหลับไม่สนิท
เซโรโทนิน (Serotonin)
เป็นฮอร์โมนที่มีบทบาทสำคัญในการควบคุมอารมณ์และความรู้สึกดี หากมีปริมาณเซโรโทนินอยู่ในระดับที่เหมาะสม จะช่วยให้เราอารมณ์ดี สุขภาพจิตดี แต่เมื่อเราก้าวเข้าสู่ช่วงวัยทอง ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนเซโรโทนินลดลง ส่งผลให้เกิดความรู้สึกเศร้าหมอง ไม่สดชื่น เกิดความเครียด มีอาการอ่อนล้า อ่อนเพลีย สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อคุณภาพการนอนหลับทั้งสิ้น
“ปัญหาการนอนหลับในช่วงวัยทอง” มีผลเสียอย่างไรบ้าง ?
หากมีปัญหานอนไม่หลับ นอนหลับยาก ในช่วงวัยทอง อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ตามมา ดังนี้
- ความเครียด: เมื่อร่างกายไม่ได้นอนพักผ่อนอย่างเพียงพอ จะทำให้เกิดความรู้สึกอ่อนล้า อ่อนเพลีย ไม่สดชื่น ล้วนเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความเครียดเพิ่มขึ้นได้
- ประสิทธิภาพการทำงานลดลง หากนอนไม่พอ จะทำให้ร่างกายรู้สึกไม่สดชื่นเมื่อตื่นนอน รู้สึกขาดการพักผ่อนอย่างเต็มที่ ทำให้สมองทำงานช้าลง ประสิทธิภาพการทำงานก็ลดลงตามไปด้วย
- เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง การนอนหลับไม่เพียงพอเป็นประจำ อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ เบาหวาน และโรคอื่น ๆ ตามมาในอนาคต
4 วิธี “จัดการปัญหานอนไม่หลับ” ในช่วงวัยทอง
- สร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการนอนหลับ ทำให้ห้องนอนมืด และเงียบสงบ มีอุณหภูมิพอเหมาะ เพื่อไม่ให้รบกวนการนอนหลับ
- หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนก่อนนอน เนื่องจากคาเฟอีนจะไปกระตุ้นให้สมองตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา
- ออกกำลังกายเป็นประจำ ในช่วงเย็น 4-6 ชม. ก่อนนอน จะช่วยให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย และนอนหลับได้ดีขึ้น
- ทำกิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลายจิตใจก่อนนอน เช่น อาบน้ำอุ่น ฟังเพลงเบา ๆ สวดมนต์ หรือนั่งสมาธิ
- เติมสารอาหารที่ช่วยเรื่องการนอนหลับ เช่น ใบแปะก๊วย มีสรรพคุณช่วยลดความเครียด คลายกังวล จึงช่วยให้นอนหลับสบาย หลับได้ง่ายขึ้น
การจัดการกับปัญหานอนไม่หลับในช่วงวัยทองไม่ใช่เรื่องยาก! หากเรารู้จักรับมือ หันมาใส่ใจดูแลสุขภาพ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพียงเล็กน้อย ก็สามารถทำให้เรานอนหลับได้ดีขึ้น และสามารถก้าวผ่านช่วงเวลานี้ไปได้อย่างราบรื่น
