ปัญหาตาแห้งไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป ในปัจจุบันหลาย ๆ คนจำเป็นที่จะต้องพก นํ้าตาเทียม ติดตัวเอาไว้เสมอ เพราะว่าพวกเขากำลังประสบกับปัญหา ตาแห้ง ตาล้า มีอาการระคายเคืองในดวงตา จากการสำรวจพบว่ามีผู้ที่จะต้องเผชิญกับอาการตาแห้งเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมถึง 30% และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนหนึ่งเกิดจากไลฟ์สไตล์ของมนุษย์ที่เปลี่ยนไป การเพ่งสายตากับหน้าจอเป็นหนึ่งในพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดปัญหานี้ จะมีวิธีแก้ไขปัญหาตาแห้งได้ดีกว่าน้ำตาเทียมหรือไม่ ? บทความนี้มีคำตอบ ลูทีน
นํ้าตาเทียม ทางออกสำหรับคนตาแห้ง แต่ไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีที่สุด
น้ำตาเทียมนั้นมีหน้าที่เหมือนกับชื่อของมัน อาการตาแห้งเกิดจากบริเวณดวงตาขาดความชุ่มชื้น ซึ่งตามปกติกลไกของร่างกายจะผลิตน้ำขึ้นมาในบริเวณตา เพื่อทำหน้าที่หล่อลื่นดวงตาอยู่เสมอ แต่เมื่อร่างกายไม่สามารถทำให้ดวงตาชุ่มชื้นได้ ซึ่งเป็นได้จากหลายปัจจัย ทั้งการทำงานที่ผิดปกติของร่างกาย ไปจนถึงการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม จึงทำให้น้ำตาเทียมเข้ามามีบทบาทในทันที แต่คุณรู้หรือไม่ ? น้ำตาเทียมบางชนิดมีส่วนผสมของสารกันเสีย หากใช้มากเกินไปอาจเกิดอันตรายต่อดวงตาได้ จะดีกว่าไหม ถ้าคุณสามารถแก้ปัญหา “ตาแห้ง” ได้ที่ต้นเหตุ น้ำตาเทียมก็ไม่จำเป็นสำหรับคุณอีกต่อไป
ลืม “นํ้าตาเทียม” ไปได้เลยหากคุณได้รู้จักกับ “Lutein Ester”
สำหรับผู้ที่มีปัญหาตาแห้ง ระคายเคืองตาได้ง่าย รู้สึกว่าตาขาดความชุ่มชื้น และกำลังอยากตัดขาดจากการใช้น้ำตาเทียม เราขอแนะนำวิตามินที่ช่วยบำรุงสายตาที่มีสารสกัดสำคัญจาก “ลูทีน เอสเทอร์” ลูทีนที่เหนือกว่าลูทีนทั่วไป เพราะดูดซึมได้ดีขึ้นกว่าเดิมถึง 80% มีส่วนช่วยเพิ่มปริมาณน้ำในตาให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม จึงสามารถลดปัญหา “ตาแห้ง” ได้อย่างตรงจุดถึงต้นเหตุ เมื่อทานเป็นประจำในระยะยาวจะทำให้ปัญหาตาแห้งค่อย ๆ ทุเลาลง จนไม่ต้องพึ่งนํ้าตาเทียมเป็นประจำ และยังมีสรรพคุณช่วยบำรุงดวงตาอีกมากมาย เช่น
- ลดโอกาสเกิดโรคต้อหลายชนิดที่อาจเกิดขึ้นกับดวงตา
- สารสกัดมี Synergistic effect เป็นการทำงานร่วมกันจนได้ผลลัพธ์แบบทวีคูณ
- สารสกัดหลักอย่าง “ลูทีน เอสเทอร์” ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายกว่าลูทีนทั่วไปถึง 80%
- ลดอาการคันที่มีต้นเหตุจากอาการภูมิแพ้ขึ้นตา
——————————————————–
อ่านบทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
>>>>บทความ – Herbitia
อ้างอิง
PowerPoint Presentation (technologynetworks.com)
https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/34129210/
https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/25618800/
https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/28472691/