ถ้าพูดถึงวิตามินบำรุงสายตา เพื่อน ๆ คงนึกถึง “ลูทีน” (Lutein) หนึ่งในวิตามินที่ขึ้นชื่อเรื่องการบำรุงดวงตาที่สำคัญ แต่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ ต้องทานเข้าไปเท่านั้น พบมากบริเวณเลนส์ตาและศูนย์กลางจอประสาทตา (Macula) ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคทางตาต่าง ๆ เช่น ต้อกระจก จอประสาทตาเสื่อม ตาแห้ง ตาล้า ตาพร่ามัว
ปัจจุบัน เทคโนโลยีมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว จึงได้มีการคิดค้น พัฒนาลูทีนรูปแบบทั่วไป (Lutein Free From) ให้มีประสิทธิภาพในการบำรุงดวงตามากยิ่งขึ้น จนเรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ของลูทีน ซึ่งนวัตกรรมที่ว่านั่นก็คือ “ลูทีน เอสเทอร์” (Lutein Ester) ที่ถือเป็นฟอร์มของลูทีนที่มีประสิทธิภาพดีกว่าลูทีนแบบทั่วไปตามท้องตลาด!!
สำหรับใครที่ยังสงสัยว่า “ลูทีน เอสเทอร์” คืออะไร? ดีกว่าลูทีนทั่วไปจริงหรอ? วันนี้ Herbitia จะพาทุกคนหาคำตอบไปพร้อมกัน!
ทำความรู้จัก ลูทีน เอสเทอร์
ลูทีน เอสเทอร์ (Lutein ester) เป็นสารสีเหลืองในกลุ่มแคโรทีนอยด์ ที่เรียกว่าแซนโทฟิลล์ (Xanthophyll) จัดเป็นลูทีนประเภทหนึ่งที่ดูดซึมได้ง่าย พบมากในดอกดาวเรือง และผักผลไม้ทั่วไปที่มีสีเขียวเข้มและสีเหลือง เช่น ผักคะน้า ปวยเล้ง ฟักทอง มะละกอ มีคุณสมบัติโดดเด่นเรื่องเพิ่มการผลิตน้ำตา ทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคทางตาต่าง ๆ เช่น จอประสาทตาเสื่อม ต้อกระจก
โดยลูทีนเอสเทอร์ จะมีโครงสร้างโมเลกุลที่แตกต่างจากลูทีนทั่วไป ดังนี้
- ลูทีนทั่วไป จะมีหมู่ไฮดรอกซิล (-OH) อยู่ที่ปลายโมเลกุลทั้งสองข้าง
- ลูทีนเอสเทอร์ จะมีเอสเทอร์ของกรดไขมัน (-OR) แทนที่หมู่ไฮดรอกซิลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือทั้งสองข้าง
ปกติลูทีนทั้ง 2 แบบถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในอาหารเสริมบำรุงดวงตา โดยการศึกษาบางชิ้น แสดงให้เห็นว่า ลูทีนเอสเทอร์ดูดซึมได้ดีกว่าลูทีนในฟอร์มปกติมากถึง 80%
ลูทีน เอสเทอร์ ดีกว่า ลูทีน ทั่วไปจริงหรอ?
1.ดูดซึมดีกว่าลูทีนทั่วไปถึง 80%
ลูทีนในรูปแบบลูทีนเอสเทอร์ ดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้ดีกว่าลูทีนทั่วไป ร่างกายจึงสามารถนำเอาสารอาหารในรูปแบบลูทีนเอสเทอร์ไปใช้ประโยชน์ในการบำรุงดวงตาได้ดีกว่า ครบถ้วนกว่า
อ้างอิงจากงานวิจัยฉบับหนึ่งที่ทำการวัดปริมาณลูทีนในกระแสเลือด พบว่า ณ ช่วงเวลาเดียวกัน มีปริมาณลูทีนเอสเทอร์ในกระแสเลือดสูงกว่าลูทีนทั่วไป จึงสรุปได้ว่า “ลูทีน เอสเทอร์ ถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้ดีกว่าลูทีนทั่วไป”
นอกจากนี้ ลูทีนเอสเทอร์ ยังมีโครงสร้างโมเลกุลที่ผูกกับกรดไขมัน ทำให้ลูทีนเอสเทอร์ถูกดูดซึมที่ลำไส้เล็กได้ดีกว่าลูทีนทั่วไป
2.มีความเสถียรมากกว่าลูทีนทั่วไป
ลูทีน เอสเทอร์ มีความเสถียรสูง ทนต่อแสงแดด อากาศ และความร้อนได้ดีกว่าลูทีนทั่วไป ทำให้ลูทีนในรูปแบบลูทีนเอสเทอร์ ไม่เสื่อมสลายง่าย และสามารถเก็บรักษาได้นานขึ้น
ลูทีนเอสเทอร์ ดีต่อดวงตายังไง?
- ปกป้องดวงตาจากแสงสีฟ้า แสงสีฟ้า (Blue light) เป็นแสงที่เป็นอันตรายต่อดวงตา โดยลูทีนเอสเทอร์จะช่วยกรองแสงสีฟ้า และสร้างสารอนุมูลอิสระปกป้องเซลล์จอประสาทตาไม่ให้ถูกทำลายจากแสงสีฟ้า
- เพิ่มความชุ่มชื้นในดวงตา เพิ่มจากยึดเกาะของชั้น Mucus ทำให้น้ำตายึดเกาะกับดวงตาได้นานขึ้นจึงทำให้ดวงตาชุมชื้น ช่วยลดอาการตาแห้ง ตาล้าได้
- ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม ลูทีนเอสเทอร์ มีส่วนช่วยเพิ่มความหนาแน่นของเม็ดสีที่จอประสาทตา ปกป้องเซลล์จอประสาทตาไม่ให้ถูกทำลาย
- ป้องกันการเกิดต้อในตา ด้วยการสะสมของลูทีนเอสเทอร์ ในดวงตา และการต้านอนุมูลอิสระ ทำให้ช่วยลดการเกิดโรคต้อ เช่น ต้อกระจก ต้อเนื้อ ต้อลม ได้
- เพิ่มประสิทธิภาพในการมองเห็น เนื่องจากลูทีนเอสเทอร์ สะสมที่จุดรับภาพชัด (Macula) ทำให้การมองเห็นดีขึ้น ลดการตาพร่ามัวได้
ใครบ้าง? ที่ควรทาน ลูทีน เอสเทอร์
- ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับสายตา เช่น จอประสาทตาเสื่อม วุ้นในตาเสื่อม จอประสาทตาลอก ต้อตาต่าง ๆ
- มีอาการตาล้า ตาพร่ามัว แสบตาง่าย
- มีอาการแสบตา ปวดตา น้ำตาไหลบ่อย
- อยู่หน้าจอนานกว่า 6 ชม./วัน
- ใส่คอนแทคเลนส์เป็นประจำ
- ผู้ที่ต้องการบำรุงสายตาเป็นประจำ
ทั้งนี้ ลูทีน เอสเทอร์ (Lutein Ester) ถือเป็นวิตามินบำรุงสายตาที่มีความปลอดภัยสูงเมื่อรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ควรทานน้อยกว่า 10 มก./วัน ไม่เช่นนั้นอาจจะไม่ได้ประโยชน์จากการทาน และหากร่างกายได้รับสารเหล่านี้มากเกินไป ร่างกายจะนำสารเหล่านี้ไปสะสมไว้ที่ตับ ส่งผลให้บริเวณผิวหนังโดยเฉพาะที่ฝ่ามือและฝ่าเท้าเกิดผิวสีเหลืองที่เรียกว่า “แคโรทีเนเมีย (Carotenemia)”
แต่ทั้งนี้ อาการดังกล่าวจะหายไปเองและกลับมาเป็นปกติได้ เมื่อเว้นการทานลูทีน และผักผลไม้ที่มีสีเหลือง เขียว ที่มีสารเหล่านี้ประมาณ 2 สัปดาห์
เพราะดวงตามีเพียงคู่เดียว จึงควรหมั่นดูแลดวงตาตั้งแต่วันนี้ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น พักสายตาจากหน้าจอ ใส่แว่นกรองแสง และหมั่นเติมสารอาหารบำรุงดวงตา ด้วยการทานลูทีนเอสเทอร์เป็นประจำ เพื่อให้ดวงตาคู่นี้อยู่กับเราไปนาน ๆ นะคะ
อ่านบทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
>>>>บทความ – Herbitia
อ้างอิง
PowerPoint Presentation (technologynetworks.com)
https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/34129210/
https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/25618800/
https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/28472691/