โรคตากับวัยทองความเสื่อมที่สูงวัยต้องรับมือ
เมื่ออายุมากขึ้นความเสื่อมก็เกิดขึ้นได้เป็นเรื่องทั่วไป รวมไปถึงดวงตาของเราที่มักเริ่มเสื่อมตามอายุตั้งแต่วัย 40 ขึ้นไปกำลังเข้าสู่วัยทอง การตรวจสุขภาพดวงตาเป็นเรื่องสำคัญหากพบสิ่งผิดปกติจะได้ป้องกัน รักษาอย่างเหมาะสม เราควรเตรียมรับมือไม่ใช่แค่เรื่องของอารมณ์ ฮอร์โมน อาการนอนไม่หลับ ความรู้สึก การมองเห็นก็ส่งผล Herbitia รวมสัญญาณเตือนของดวงตาที่บ่งบอกว่ากำลังเข้าสู่วัยทอง

วัยทองคือ
วัยทอง คือ คนที่อยู่ในช่วง 40-59 ปี โดยเฉลี่ยแล้วจะอยู่ที่ 50 ปี ซึ่งอยู่ในช่วงวัยเจริญพันธุ์เข้าสู่วัยผู้สูงอายุซึ่งส่งผลมีจำนวนฮอโมนเพศที่ลดลงอย่างรวดเร็วทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรวมถึงการเกิดโรคต่างๆ โดยทั่วไปมักจะมีผลกับผู้หญิงอย่างเห็นได้ชัดเจนมากกว่าผู้ชาย
อาการของวัยทองที่พบบ่อยได้แก่ :
- อาการร้อนวูบวาบ (Hot flashes) : รู้สึกร้อนตามตัวทันทีทันใด และมีเหงื่อออก
- เหงื่อออกมากตอนกลางคืน : บางคนอาจตื่นมาเนื่องจากมีเหงื่อออกมากตอนนอน
- อารมณ์แปรปรวน : มีความรู้สึกหงุดหงิด ซึมเศร้า หรือวิตกกังวลบ่อยขึ้น
- ปัญหาการนอนหลับ : นอนไม่หลับหรือหลับยาก
- ความแห้งของช่องคลอด : อาจทำให้รู้สึกเจ็บหรือไม่สบายเวลามีเพศสัมพันธ์
- กระดูกพรุน : ฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลงทำให้ความหนาแน่นของกระดูกลดลง ส่งผลให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุน
อ่านเพิ่มเติมเรื่องวัยทองของแต่เพศ : เจาะลึก วัยทองเพศชาย คืออะไร รับมืออย่างไรดี ? / เช็คอาการ ! วัยทองเพศหญิง ของคนวัย 40+

สายตาสูงวัย หรือ สายตายาว
สายตายาว ( Presbyopia ) ส่วนมากเข้าใจว่าสายตาเรานั้นยาวขึ้นเมื่อมีอายุ แต่ความจริงแล้วเป็นการเสื่อมสภาพของคนวัย 40 ปีขึ้นไปเนื่องจากเลนส์นั้นขาดความยืดหยุ่นไม่สามารถปรับสภาพได้ดังเดิม ทำ ให้การปรับสายตาในการมองเห็นระยะใกล้ปรับยากขึ้น (หมายความว่าการมองเห็นในระยะใกล้จะมองได้ไม่ดีเท่าเก่าแต่ยังสามารถมองเห็นในระยะไกลได้เท่าเดิม )
วิธีการป้องกันหรือรักษา
วิธีการรักษาพื้นฐานที่ทำได้ทุกคนนั้นคือการ ตัดเลนส์สายตาหลายระยะ (Progressive Glasses ) เพิ่มเติมสำหรับการมองใกล้ และมองไกล หรือเอียงให้ได้ประสิทธิภาพดีเท่าเดิม อีกทางเลือกหนึ่งคือการใส่คอนแทคเลนส์เป็นชัดหลายระยะสำหรับคนสูงอายุบางท่านที่ไม่ชื่นชอบการใส่แว่น คอนแทคเลนส์เป็นตัวเลือกที่ดี

จุดรับภาพเสื่อม
โรคจุดรับภาพเสื่อมตามวัยหรือ โรคจอประสาทตาเสือม ( Age-Related Macular Degeneration ) เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยสูงอายุ มักมีอาการจุดรับภาพบริเวณกลางจอประสาทตาเสื่อม อาการคือ มองไม่ชัดภาพเบลอ มีจุดดำ หรือเงาบริเวณตรงกลางภาพให้รีบเข้ารับการรักษาให้คงสภาพอาการของดวงตาไว ้มิเช่นนั้นมีโอกาสที่สูญเสียการมองเห็น จนส่งผลการใชชี้วิตเมื่อยามมีอายุมากยิ่งขึ้น
วิธีการป้องกันหรือรักษา
ขั้นตอนการรักษาอาการจุดรับภาพเสื่อมนั้นในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาทางแพทย์ไหนที่สามารถการันตีได้ว่าจะรักษาจอประสาทตาที่เสื่อมให้ดีขึ้นจนหายขาดได้ ดังนั้นการเข้ารับการตรวจสุขภาพดวงตา และติดตามผลอย่างต่อเนื่อง ทานอาหารที่มีประโยชน์ บำรุงวิตามิน หรืออาหารเสริมที่ช่วยชะลอความเสื่อมของตาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงป้องกันดวงตา จากแสงแดด ฝุ่นและควัน ออกกำ ลังกายเป็นประจำ วิธีดังกล่าวจะช่วยในการชะลอความเสื่อมของจุดรับภาพที่กำลังเสื่อมลงได้

ต้อกระจก
โรคต้อกระจก ปัญหาตาในวัยทองที่หลายคนรู้จักกันเป็นอย่างดี เมื่ออายุมากขึ้นส่งผลให้เลนส์ตามีโอกาสแข็ง และขุ่นมัวได้ ในบางกรณีคือเกิดต้อบริเวณนอกเลนส์ทำให้สายตายังคมชัดปกติ แต่ในกรณีเป็นต้อ บริเวณตรงกลางของเลนส์ดวงตาจะส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวันค่อนข้างมาก อาการของโรคคือ สายตามัว เกิดภาพทับซ้อน สเหมือนมีฝ้าหรือหมอกมาบังสายตา ไม่สามารถสู้แสงได้
วิธีการป้องกันหรือรักษา
การรักษาต้อกระจกนั้นมีวิธีการรักษาแบบเดียวคือการผ่าตัด แต่ในปัจจุบันพัฒนาใชเ้ครื่องสลายต้อตัวช่วยในการใช้เลนส์ตาเทียมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทำให้มีแผลผ่าตัดขนาดเล็ก ไม่ส่งผลกระทบกับชีวิตประจำวันมากนัก ผู้สูงวัยที่ได้รับการผ่าตัดต้อกระจกแล้วต้องทำ การใส่เลนส์เทียมแทนที่การป้องกันอาจจะไม่มีมากเพราะเป็นการเสื่อมของตาตามการใช้งานของเรา เบื้องต้นควรตรวจเป็นระยะหากมีอาการเริ่มมองไม่ชัด ขนุ่มัว ควรรีบเข้าร้บการรักษาแบบทันที
โรคดวงตาที่กล่าวมาเป็นโรคที่มีโอกาสเกิดขึ้นกับผู้สูงวัยได้ เริ่มมีอาการได้ตั้งแต่ 40ปี ขึ้นไปคือช่วงที่กำลังเข้าสู่วัยทอง สำหรับคนที่กำลังเข้าสู่ช่วงวัยทองการเตรียมตัวรับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นั้นสำคัญมากๆ ไม่ใช่แค่การเปลี่ยนแปลงภายนอกยังรวมถึงภายในไม่ว่าจะฮอร์โมน ร่างกาย สุขภาพ อารมณ์ และจุดสำคัญอย่างดวงตา อย่าละเลยการตรวจสุขภาพตาเพื่อรับการรักษาอย่างทันท่วงที