เชื่อว่าทุกคนคงไม่อยากเผชิญกับปัญหา “ผมร่วง ผมบาง” จนลุกลามไปถึงขั้น “หัวล้าน” อย่างแน่นอน เพราะปัญหาเหล่านี้ ล้วนทำให้เราสูญเสียบุคลิกภาพ ขาดความมั่นใจ เครียด วิตกกังวล จนไม่กล้าพบปะผู้คนในสังคม
วันนี้ทาง Herbitia จึงได้รวบรวม 5 ประเภทของ “ผมร่วง” ที่พบได้บ่อยที่สุด มาฝากทุกคนกันค่ะ เพื่อจะได้สังเกตตัวเอง และเลือกใช้วิธีรักษาปัญหา “ผมร่วง ผมบาง” ได้อย่างตรงจุด จะมีอะไรบ้าง…ไปดูพร้อมกันเลย!!
เช็คให้ชัวร์ ! ผมร่วงแบบไหน ที่คุณเป็นอยู่ ?
1. ผมร่วงจากพันธุกรรม (Androgenetic alopecia)
เกิดจากการถ่ายทอดยีนจากบุคคลในครอบครัวที่มีภาวะผมร่วง ผมบาง รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ จากสิ่งแวดล้อม เช่น แสงแดด ความเครียด ภาวะที่ร่างกายขาดสารอาหาร แร่ธาตุ และวิตามิน ที่ส่งผลให้เส้นผมอ่อนแอ จนนำไปสู่ปัญหา “ผมร่วง ผมบาง” ในที่สุด
ภาวะผมร่วงจากพันธุกรรม จะพบได้บ่อยในเพศชาย และพบมากในผู้ที่มีอายุมากตั้งแต่ 30-35 ปีขึ้นไป สำหรับผู้ชายสามารถสังเกตได้จากผมบริเวณด้านหน้าผากเริ่มร่นขึ้น ส่วนผู้หญิง ผมจะร่วงจากบริเวณแสกกลางของหนังศีรษะลงมา
2. ผมร่วงเป็นหย่อม (Alopecia areata)
ผมร่วงเป็นหย่อม มักเกิดขึ้นบริเวณใดบริเวณหนึ่งบนหนังศีรษะ หรือกระจายหลายจุดทั่วทั้งหนังศีรษะ ซึ่งมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ที่ไปทำลายเนื้อเยื่อรูขุมขนรอบเส้นผม ส่งผลให้ผมร่วง ผมบาง จนเห็นหนังศีรษะอย่างชัดเจน
ภาวะผมร่วงเป็นหย่อม นอกจากจะทำให้ผมร่วงแล้ว ขนบริเวณอื่น ๆ เช่น ขนคิ้ว ขาตา ขนรักแร้ ขนบริเวณจุดซ่อนเร้นก็อาจหลุดร่วงได้เช่นกัน
3. ผมร่วงเฉียบพลัน (Telogen effluvium)
ผู้ที่มีอาการผมร่วงเฉียบพลัน จะทำให้ผมของคุณร่วงมากกว่าปกติถึงวันละ 100-1,000 เส้น ซึ่งเสี่ยงเกิด “หัวล้าน” ได้ง่าย ส่วนใหญ่มักมีสาเหตุมาจากความเครียด ร่างกายขาดสารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุ ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง ยาบางชนิด รวมถึงอาจเกิดขึ้นหลังการเจ็บป่วย เช่น ไข้หวัดใหญ่ ไข้เลือดออก ปอดอักเสบ หลังผ่าตัด เป็นต้น
ผู้ที่เผชิญกับภาวะผมร่วงเฉียบพลัน อาจประสบปัญหานี้นานถึง 2-3 เดือน หรือ 3-6 เดือน ก่อนอาการจะเริ่มดีขึ้นจนสามารถหายไปเองได้
4. ผมร่วงทั้งศีรษะ (Alopecia totalis)
ผมร่วงทั้งศีรษะ พัฒนามาจากผมร่วงเป็นหย่อม เมื่อมีอาการรุนแรงขึ้น จะส่งผลให้ผมร่วงทั้งศีรษะ
แม้ว่าปัจจุบันจะยังไม่ทราบสาเหตุอย่างแน่ชัด แต่นักวิจัยหลายท่านคาดการณ์ว่าเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายทำงานผิดปกติ โจมตีเนื้อเยื่อรอบรูขุมขนของเส้นผม ทำให้เกิดการอักเสบจนส่งผลให้ผมร่วงทั้งศีรษะ
5. ผมร่วงที่ก่อให้เกิดแผลเป็น (Scarring alopecia)
ผมร่วงชนิดนี้เกิดจากเซลล์รากผมถูกทำลายจากโรคทางผิวหนัง เช่น โรคผิวหนังแข็ง (Scleroderma) ไลเคน พลานัส (Lichen planus) โรคลูปัส (SLE) ซึ่งจะทำให้เกิดรอยแผลเป็นบนหนังศีรษะ ส่งผลให้เส้นผมไม่สามารถงอกใหม่ในบริเวณนั้นได้ ทำให้สูญเสียเส้นผมไปอย่างถาวร
เมื่อไหร่ก็ตาม ที่คุณสังเกตเห็นว่าตัวเองเริ่มมีปัญหาผมร่วง ผมบาง ควรรีบหาตัวช่วยฟื้นบำรุงเส้นผมอย่างจริงจัง ด้วยการทานอาหารที่มีโปรตีนสูง หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารฟื้นบำรุงเส้นผม
ขอขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก