อาการวัยทองระดับไหน ควรต้องเข้ารับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

คนเราทุกคนต่างก็หลีกหนีอาการวัยทองไม่พ้น เมื่อถึงช่วงอายุประมาณ 40 ถึง 50 ก็จะค่อย ๆ มีอาการผิดปกติกับร่างกาย บ้างก็ค่อย ๆ แสดงอาการ บ้างก็เกิดขึ้นมาอย่างกะทันหัน ด้วยความก้าวหน้าของนวัตกรรมทางการแพทย์ ทำให้ได้ค้นพบกับ “วิธีรักษาอาการวัยทอง” ถึงจะไม่ใช่การรักษาให้หายขาด แต่ก็เป็นการเยียวยาเพื่อให้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข แม้จะอยู่ในวัยไม้ใกล้ฝั่งก็ตาม บทความนี้เราจะพาทุกคน ไปทำความเข้าใจถึงวิธีการรักษาอาการวัยทอง และ เทคนิคสังเกตว่าคนใกล้ตัวที่อยู่ในช่วงวัยทอง ว่าอาการแบบไหนควรต้องพาไปหาหมอ

แนวทางการรักษาอาการวัยทอง ที่ได้รับการยอมรับจากทั่วทุกมุมโลก

อาการวัยทองนั้นมีอยู่หลายรูปแบบ แต่ละคนก็จะมีอาการและความรุนแรงแตกต่างกันออกไป ทว่าต้นตอของปัญหานั้น เกิดขึ้นจากสาเหตุเดียวคือ “ฮอร์โมน” ดังนั้นแนวทางการรักษาอาการวัยทองที่เห็นผลชัดที่สุด จึงการใช้ “ฮอร์โมนทดแทน” ซึ่งจะเป็นการใช้ฮอร์โมนเพศอย่าง เอสโตรเจน และ เทสโทสเตอโรน เติมเข้าไปทดแทนในส่วนที่ขาดหายไป วิธีนี้มีผลข้างเคียงอยู่พอสมควร จึควรรักษาควบคู่ไปพร้อม ๆ กับการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ หันมาดูแลตนเอง ออกกำลังกาย กินอาหารที่มีประโยชน์ หรือ เข้ารับการปรึกษากับจิตแพทย์

อาการวัยทองที่พบได้บ่อย พร้อมคำแนะนำของแต่ละอาการ

  • อาการร้อนวูบวาบ รู้สึกร้อนวาบขึ้นมากะทันหัน บริเวณ ใบหน้า ลำคอ และ หน้าอก เป็นอาการทั่วไปไม่ต้องพบแพทย์
  • ลืมง่าย เกิดการหลงลืมชั่วครั้งชั่วคราว แต่ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตมากนัก เป็นอาการทั่วไป ไม่ต้องพบแพทย์
  • โมโหง่าย วิตกกังวล หงุดหงิดง่าย อะไรก็ไม่ได้ดั่งใจ เป็นผลกระทบจากฮอร์โมนที่น้อยลง ยังไม่ใช่อาการที่น่าเป็นห่วงสักเท่าไหร่ แต่ถ้าควบคุมตนเองไม่ได้ ควรได้รับคำปรึกษาจากแพทย์
  • อารมณ์แปรปรวน เกิดความไม่มั่นคงในอารมณ์ เอาแน่เอานอนไม่ได้ อาจไม่ใช่ปัญหาที่ควรกังวล ทว่าอาจส่งผลต่อความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง อาจต้องเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
  • หย่อนสมรรถภาพทางเพศ ถ้าเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว ไม่น่ากังวลสักเท่าไหร่ แต่ถ้าถึงขั้นไม่มีความต้องการทางเพศ อวัยวะเพศไม่แข็งตัว ช่องคลอดแห้ง กรณีเหล่านี้ควรต้องเข้ารับการรักษา
  • กระดูกพรุน ผู้ที่ประสบปัญหาวัยทอง มักจะมาพร้อมอาการกระดูกพรุน เนื่องจากประสิทธิภาพของการสร้างกระดูกใหม่ลดลง ส่งผลให้มวลกระดูกลดลง กระดูกเปราะ แตกหักง่าย อาการนี้ต้องรีบพบแพทย์
  • เหงื่อออกตอนกลางคืน คล้าย ๆ อาการร้อนวูบวาบที่พบได้ทั่วไป ทว่าอาการจะหนักกว่า เป็นบ่อยกว่า ส่งผลกระทบต่อการพักผ่อน และ สภาพจิตใจ อาการนี้ควรเข้ารับการรักษาโดยเร็ว
  • ใจสั่น รู้สึกว่าหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ใจสั่น เจ็บหน้าอก หายใจไม่อิ่ม อาการนี้มักจะพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ถือว่าเป็นอาการที่น่าเป็นห่วง ควรได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
  • เกิดภาวะซึมเศร้า เมื่อสารสื่อประสาทเกิดความไม่สมดุล ก็จะทำให้ผู้ที่อยู่ในวัยทองเกิดอาการฟุ้งซ่าน เมื่อไหร่ก็ตามที่เกิดความรู้สึก เหนื่อยกับการใช้ชีวิต ไม่อยากอยู่อีกแล้ว ต้องรีบเข้าพบแพทย์โดยด่วน

ตัวช่วยบรรเทาอาการผิดปกติของคนวัยทอง แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ

อาการวัยทองข้างต้นที่เรากล่าวถึง ล้วนเกิดจากปัญหาที่ร่างกายไม่สามารถผลิต ฮอร์โมนเพศ และ สารสื่อประสาท ออกมาได้ในปริมาณที่เคยทำได้ การแก้ปัญหาที่ปลายเหตุอาจไม่ใช่วิธีที่เหมาะสมสักเท่าไหร่ เพราะฉะนั้นการมองหาสารที่เข้ามาทดแทนฮอร์โมนที่ลดน้อยลง และ กระตุ้นให้เกิดการสร้างฮอร์โมนขึ้นมาใหม่ จึงเป็นตัวเลือกที่ตรงจุดมากที่สุด